ความรู้เกี่ยวกับป้ายทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถแต่ละประเภท

ป้ายทะเบียนรถยนต์แบบใหม่ (1 เมษายน)

หลังจากได้รับป้ายรถยนต์แบบใหม่เมื่อต้นปี (1 เมษายน) แบบที่ว่านั้นเราจะเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน เป็นแบบที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในแง่ลบ คือแทนที่จะเปลี่ยนแล้วดีขึ้นกลับแย่กว่าเดิม เพราะกรมขนส่งทางบกได้ออกแบบให้ป้ายทะเบียน มีขนาดยาวขึ้น รูปแบบตัวอักษรเปลี่ยนไป และมีขนาดเล็กลง เปลี่ยนชื่อจังหวัดจากชื่อเต็มๆ มาใช้ตัวอักษรย่อ ซึ่งทำให้อ่านหรือจำป้ายทะเบียนได้ยากขึ้น เพราะต้องมานั่งเดาชื่อจังหวัด และตัวอักษรแบบใหม่นั้นเทียบกับแบบเก่าแล้ว แบบเก่าอ่านได้จากระยะไกลได้ดีกว่า ถ้าพูดถึงในด้านกราฟฟิก คือแบบเก่ามี legibility ดีกว่า เมื่อถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรมขนส่งทางบก จึงตัดสินใจแก้แบบให้ดีขึ้น ถูกหลักการ ตรงตามเกณฑ์การออกแบบป้ายจราจรที่ดีมากขึ้น โดยได้เริ่มนำมาใช้แล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา

ป้ายทะเบียน (ปัจจุบัน) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทำจากอะลูมิเนียม พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขจะถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียนด้วยเช่นกัน ขนาด 15x34 มี 2 บรรทัด บรรทัดแรก เป็นตัวอักษรประจำหมวดที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดที่สอง และ หมายเลขทะเบียน บรรทัดที่สอง เป็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด ลักษณะของตัว อักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุน ตัวอักษรประจำหมวด และหมายเลขทะเบียนกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 6.2 ซม. ชื่อจังหวัดใช้ตัวเต็ม กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 2 ซม. ในแผ่นป้ายมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม อัดเป็นรอยดุนที่มุมล่างขวา ของแผ่นป้าย สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ตัวอักษรประจำหมวด ใช้ตัวอักษรไทยมาตรฐาน โดยตัวแรกเป็นตัวบอกหมวดประเภทรถ และตัวที่ 2 เป็นตัววิ่ง ซึ่งมีจำนวน 39 ตัว หมาย เลขทะเบียนรถใช้ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 9999 ในแต่ละหมวด โดยสรุปจะมีรูปแบบเหมือนที่ใช้ในวันที่ 1 เมษายน เพียงแต่ขนาดตัวอักษรและตัวเลข จะใหญ่กว่าแบบเดิม และเปลี่ยนตัวอักษรจากตัวกราฟฟิก มาใช้แบบมาตรฐานทำให้อ่านง่ายชัดเจนขึ้น สี พื้นของแผ่นป้าย สีตัวอักษร ตัวเลข และสีขอบบนของแผ่นป้ายจะมีรูปแบบเหมือนเดิมที่ใช้ในวันที่ 1 เมษายน
เว้นแต่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง ในอดีตการจะขอหรือจะต่อป้ายทะเบียนรถของพลเมืองชาวเบตงต้องเข้ามาขอที่ จังหวัดยะลา ซึ่งอำเภอเบตงอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองยะลามาก การเดินทางก็ไม่สะดวก กรมการขนส่งทางบกจึงอนุญาตให้มีการจดทะเบียนรถที่เบตงได้โดยให้มีป้าย ทะเบียนรถเป็นของตัวเอง ซึ่งก็เป็นป้ายทะเบียนเดียวที่ไม่ใช่ระดับจังหวัด แต่เป็นระดับอำเภอที่เดียวของประเทศไทย นั่นคือให้มีป้ายทะเบียนเบตงนั่นเอง

ประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้งานรถได้ ดังนี้

ป้ายเหลืองอักษรแดง คือ ป้ายรถรับจ้างระหว่างจังหวัด

ป้ายเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายรถรับจ้าง

ป้ายเหลืองอักษรเขียว คือ ป้ายรถตุ๊กตุ๊ก

ป้ายเหลืองอักษรฟ้า คือ ป้ายรถกระป๊อ

ป้ายเขียวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถยนต์บริการให้เช่า

ป้ายขาวอักษรฟ้า คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

ป้ายขาวอักษรเขียว คือ ป้ายทะเบียนกระบะ

ป้ายขาวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

ป้ายขาวอักษรแดง คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อ

ป้ายแสดอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม


สำหรับป้ายทะเบียนรถอีกประเภทหนึ่งคือป้ายทะเบียนกราฟิก ซึ่งมีขึ้นภายหลังป้ายทะเบียนแบบปกติ ป้ายทะเบียนนี้จะมีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ (เลขสวย) เช่น ฌร 9999 ซึ่งเลขทะเบียนเหล่านี้จะถูกเปิดประมูลโดยกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนชนิดนี้จะมีภาพพื้นหลังป้าย ที่สื่อถึงจังหวัดนั้นๆ เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีรูปวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานพระราม 8 เป็นพื้นหลัง เป็นต้น ปัจจุบันมีการเปิดประมูลป้ายทะเบียนกราฟิกเฉพาะที่เป็นทะเบียนของรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูล,รูปภาพจาก http://www.toyotanon.com,http://th.wikipedia.org,http://www.dek-d.com


EmoticonEmoticon