การคำนวณแรงกดที่ขาเครน (Bearing pressure under outriggers.)

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการคำนวณแรงกดที่ขาเครนมีหลายทฤษฎีมาก เพราะว่ารถเครนมีหลายประเภท หลายชนิด แต่ละยี่ห้อมีการใช้งานแตกต่างกัน ต้องมองถึงสถานการณ์การใช้งานและสภาพพื้นผิวในการทำงาน รวมถึงช่วงของค่าความปลอดภัยในการใช้งานที่ต้องเผื่อไว้และอีกหลายปัจจัย บทความนี้จะขอหยิบยกมาด้วยทฤษฎีสมัยใหม่ ในการคำนวณแรงกดที่ขาเครนสำหรับรถเครนล้อยางจากโซนโอเชียเนีย


พื้นฐานของเรื่องนี้ มีคร่าวๆอยู่ 4 เรื่อง

เรื่อง แรก ขาของรถเครนโดยส่วนใหญ่มี 4 ขา โดยล้อต้องลอยจากพื้น ห้ามรับน้ำหนัก ห้ามใช้ไม้หมอนรองหนุน ห้ามใช้อะไรมาค้ำขารถเครนไว้ไม่ให้กระดก

เรื่องที่ 2 หลักการของไม้กระดกในสนามเด็กเล่น ฝั่งที่เรานั่งขับเครน คือ ฝั่งนึงของไม้กระดก ส่วนอีกฝั่ง จะเป็นฝั่งของชิ้นงาน น้ำหนักทั้งหมดจะกดลงที่ จุดหมุนของไม้กระดก หรือพูดอีกอย่าง คือ “จุดหมุนในการยกของ” คือ “ขารถเครน”

เรื่องที่ 3 น้ำหนักกดที่เราคำนวณ คิดง่ายๆ คือ น้ำหนักของรถเครนทั้งหมด + น้ำหนักของชิ้นงาน ต่อไปจะเรียกว่า “น้ำหนักกดรวม”

เรื่องสุดท้าย พื้นฐานของการคำนวณ ต้องยึดหลักว่า อยู่ในระดับน้ำทะเล 0 องศา
ถ้ายังไม่เข้าใจ กลับไปอ่านซ้ำใหม่ แล้วนึกภาพตามครับ ถ้าเข้าใจแล้ว มาต่อเลยครับ จะสอนการคำนวณของจริงกันแล้ว

วิธีการคำนวณมีขั้นตอนดังนี้ครับ

หนึ่ง, เอา “น้ำหนักรวม” (น้ำหนักรถเครน + น้ำหนักชิ้นงาน) เป็นตัวตั้ง
สอง, แรงกดของขารถเครนข้างที่ใกล้ชิ้นงาน ให้คิดข้างละ 75% ของน้ำหนักกด ส่วนข้างที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับชิ้นงาน ให้คิดข้างละ 50%
สาม, เอาจำนวนพื้นที่หารน้ำหนักในแต่ละข้าง เราจะได้น้ำหนักแรงกดต่อพื้นที่ ไปเปรียบเทียบกับ วิศวกรโยธา (Civil Engineer) ที่คำนวณไว้

ยกตัวอย่างเช่น รถเครนน้ำหนัก 96 ตัน น้ำหนักถ่วง 135 ตัน ยกของ 49 ตัน ใช้แผ่นเหล็กแบบ 2ม. X 2ม. ขารถเครนแต่ละข้างรับน้ำหนักที่เท่าไหร่
น้ำหนักรวม คือ 96 + 135 + 49 ตัน = 280 ตัน
จำนวนพื้นที่ คือ 2ม. X 2ม. = 4 ตารางเมตร
ขารถเครนข้างฝั่งที่ยกของคำนวณที่ 75%
280 x 0.75 = 210 ตัน
แรงกดต่อตารางเมตร คือ 210ตัน/4ตารางเมตร = 52.5 ตันต่อตารางเมตร

ขารถเครนข้างฝั่งตรงข้ามคำนวณที่ 50%
280 x 0.5 = 140 ตัน
แรงกดต่อตารางเมตร คือ 140ตัน/4ตารางเมตร = 35 ตันต่อตารางเมตร

คราวนี้ต้องคำนวณดูว่า พื้นที่รับแรงกดพอได้หรือเปล่า ถ้าไม่พอก็มี 2 วิธี คือ หนึ่ง, ปรับสภาพพื้นที่ กับ สอง, ขยายขนาดของแผ่นรองขา ซึ่งวิธีที่สองจะใช้ได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับไม่ตายตัว


เตือนกันซักนิดสำหรับผู้ใช้รถเครนไม่ควรยึดติดกับสิ่งเหล่านี้


1.ระดับน้ำ : รถเครนที่ทำงานในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเก่า ผลิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10-20 ปี ระดับน้ำหลายคันมีตามด หรือสนิม ทำให้เชื่อถือไม่ได้เท่ารถเครนใหม่ๆ

2.ไฟสัญญาณ 3 สี : ไฟสัญญาณนี้ คือ สัญญาณเตือนปลายเหตุ/ ต้นเหตุ คือ การอ่านกราฟให้เป็น และการตั้งรถอย่างถูกต้องมากกว่า

3.คอมพิวเตอร์ รถเครน : คอมพิวเตอร์รถเครน ก็เป็นปลายเหตุเหมือนกัน/ ในตำรา OSHA and ANSI บอกว่า ให้เชื่อถือการคำนวณหน้างาน มากกว่าเชื่อถือคอมพิวเตอร์รถ

4.ใส่ หมวก ใส่เข็มขัด ใส่รองเท้าเซฟตี้ ระหว่างขับเครน : ใส่พวกนี้แล้ว (PPE) ไม่ได้ทำให้ทำงานปลอดภัยขึ้น กับเพิ่มความเครียดให้กับ พนักงานขับรถเครน



อ้างอิงจากสภาอุตสาหกรรมรถเครนประเทศออสเตรเลีย และมาตรฐานกระทรวงความปลอดภัยอเมริกา

เครดิต กลุ่มผู้ประกอบการรถเครนแห่งประเทศไทย , http://paitooncrane.blogspot.com/




ยางสำหรับรถเครื่องจักรกล (Earthmover Tire) 
ยางรถใช้สำหรับท่าเรือ (Port Tire) 
ยางรถสแตคเกอร์ (Stacker Tire)
14.00-24, 16.00-25, 18.00-24, 18.00-25, 18.00-33, 21.00-25, 33/65-33, 21.00-35, 24.00-35, 33.25-35, 37.5-39, 40/65-39, 41.25/70-39, 45/65-45, 24.00-49, 27.00-49, 30.00-51, 50/65-51, 65/60-51, 55.5/80-57, 65/65-57

ยางรถเครน (Crane Tire)
12.00-20, 13.00-20, 14.00-20, 13.00-24, 14.00-24, 16.00-24, 16.00-25, 18.00-25, 20.00-25, 23.00-25, 26.5-25, 385/95R24 (14.00R24), 385/95R25 (14.00R25), 445/95R25 (16.00R25), 445/95R24 (16.00R24), 505/95R25 (18.00R25), 445/80R25 (17.5R25), 525/80R25 (20.5R25), 23.5R25, 26.5R25, 17.5R29

ลิ้งค์สำหรับยางรถเครน
14.00-24 14.00-25 16.00-24 16.00-25 18.00-25 385/95R24 14.00R24 445/95R25 505/95R25 385/95R25 445/80R25 525/80R25 26.5R25 14.00R25 26.5-25 17.5R29 


EmoticonEmoticon