ประวัติ และประเภทของรถเอทีวี

ประวัติ และประเภทของรถเอทีวี

เอทีวี (ATV ย่อจาก All-Terrain Vehicle) หรือ ควอดไบค์ (quad-bike หรือย่อว่า ควอด) เป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ในการขับเคลื่อนโดยออกแบบมาให้มีขนาดเล็กและมีล้อทั้งหมด 4 ล้อ สำหรับใช้ขับขี่ในทางวิบาก อย่างไรก็ตามทางแอนซี ได้นิยามว่า "เอทีวี" คือชื่อสำหรับยานยนต์ที่มีลักษณะสำหรับการขับขี่ที่มีแรงกดดันต่ำที่ยาง และที่นั่งก็เป็นลักษะที่ต้องถ่างขาหรือขึ้นคร่อมเวลาใช้งานโดยผู้ขับขี่ และมือทั้งสองข้างก็บังคับโดยจับที่แฮนด์ควบคุมขับขี่โดยมีคนบังคับคนเดียว และได้มีการประยุกต์ให้มีที่นั่งซ้อนท้ายเพิ่มในยุคต่อมา

รถเอทีวีคันแรกนั้นคาดว่ามีการสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งในตอนนั้นรถมี 6 ล้อ แทนที่จะเป็นสี่ล้อ ฮอนด้าได้ผลิตรถเอทีวีชนิด 3 ล้อขึ้นมาในปี 1970 และที่ให้เป็นที่รู้จักและติดตามากขึ้นในภาพยนตร์เรื่องเพชรพยัคฆราช หลังจากนั้นก็ถูกขนานนามในชื่อ US90 ต่อมา ATC90 ก็ได้รับการแต่งเติมสำหรับการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งต่อมาการใช้ยางทรงรีเส้นใหญ่ก็ถูกนำมาแทนที่รูปแบบเดิมโดยภายหลังในช่วงปลายๆปี 1980 การหยุดผลิตยางแบบเดิมซึ่งมีคุณภาพต่ำก็ถูกนำมาใช้อีกในปี 1982 ฮอนด้า รุ่น ATC200E Big Red ได้ผลิตออกมาให้สามารถใช้งานในเมืองได้ โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือชั้นวางและ ระบบการเบรก ทำให้กลายเป็นรถ ATV ขนาด 3 ล้อตัวแรกที่สามารถใช้งานได้เอนกประสงค์และขับขี่ไปได้ทุกที่ ซึ่งรถในยุคนั้นไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ จึงทำให้รถเอทีวีกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักล่า สัตว์ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา หลังจากรถเอทีวีได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากแล้ว บริษัทผู้ผลิตยางรถเอทีวี จึงได้มีการพัฒนายางรถเอทีวีให้มีสมรรถภาพรองรับการขับขี่ให้ดียิ่งขึ้น ผู้ผลิตรถเอทีวีจากค่ายต่างๆจึงพัฒนาตัวรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนสามารถนำรถเอทีวีเข้าสู่การแข่งขันในปัจจุบัน

ประเภทของ ATV แบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน ได้ดังนี้

1. ATV สำหรับขี่เล่น เป็น ATV ที่เหมาะกับการขี่เล่น หรือเด็กๆ ผู้ที่เริ่มต้นขี่ ซึ่งรถ ATV ประเภทนี้ จะมีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ความจุประมาณ 80 – 125 ซี.ซี. เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ส่วนใหญ่เป็นแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ แรงม้าไม่มาก (ไม่ถึง 10 แรงม้า) ระบบกันสะเทือนง่ายๆ ด้านหน้าเป็นแบบคานแข็ง คอยล์สปริงธรรมดา หรือรุ่นที่ดีหน่อยก็อาจจะเป็นแบบอิสระ A-ARM แต่มีเพียงแขนยึดด้านล่างเพียงแขนเดียว ซึ่งต่างกับระบบกันสะเทือนแบบอิสระปีกนกสองชั้นทั่วไป ส่วนด้านหลังเป็นแบบมาตรฐานของรถ ATV ทั่วไป คือ เป็นแบบสวิงอาร์ม คานแข็ง ระบบขับเคลื่อนเป็นโซ่ (ระบบเพลาก็มี) และยึดด้วยช็อคอัพ 1 ตัว รถ ATV ประเภทนี้เน้นความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยไม่ต้องวุ่นวายในการเปลี่ยนเกียร์ให้ยุ่งยาก ซึ่งเหมาะสำหรับเด็ก และผู้เริ่มต้น

2. ATV สำรหรับใช้แรงงาน เป็นรถ ATV ที่เน้นการใช้งานแบบสมบุกสมบัน เหมาะกับการใช้งานในไร่ หรือฟาร์ม สามารถนำไปบรรทุกของหนักได้ โดยมักจะมีตระแกรงบรรทุกไว้ให้ และยังสามารถนำไปลุยป่าฝ่าโคลนแบบรถยนต์ 4WD ได้อีกด้วย สาเหตุที่รถ ATV ประเภทนี้ สามารถลุยและบรรทุกของหนักๆ ได้นั้นมาจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ สูบเดี่ยว ความจุกระบอกสูบสูง (ขนาด 250 ซี.ซี. ขึ้นไป) เน้นแรงบิดสูงในรอบต่ำ ไม่เน้นความเร็วรอบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์แบบอัตโนมัติ หรือ อาจจะเป็นเกียร์แบบรถครอบครัวบ้านเรา คือ อาศัยระบบคลัทช์แรงเหวี่ยง ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องพะวงกับการบีบคลัทช์ ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา (Full time 4WD) และที่พิเศษของรถ ATV ประเภทนี้ คือ จะมีเกียร์พิเศษช่วยเพิ่มแรงบิด หรือเกียร์สโลว์ แบบรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อนั่นเอง ซึ่งเกียร์สโลว์นี้ จะมีอัตราทดที่สูงกว่าปกติ ช่วยเพิ่มแรงบิดที่ส่งถ่ายมายังล้อได้มาก ช่วยเพิ่มเรี่ยวแรงเวลาปีนป่ายฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ แต่ความเร็วของรถก็จะลดลงไปด้วย

3. ATV สำหรับแข่งขัน ATV ประเภทนี้ จะค่อนข้างเน้นความเร็ว ซึ่งจะมีตั้งแต่เร็วระดับใช้งานปกติได้ จนถึงระดับแข่งขัน ความเร็วดังกล่าวมากจากเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ ความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 200 ซี.ซี. ขึ้นไป ระบายความร้อนด้วยอากาศ (ในรุ่นที่ราคาถูก) จนไปถึงระบายความร้อนด้วยน้ำ (รุ่นที่ราคาแพง ๆ หรือตัวแข่งทั้งหลาย) ระบบคลัทช์และเกียร์ก็จะเป็นแบบธรรมดา หรือแบบคลัทช์มือ มีเกียร์ให้เล่นหลายเกียร์ อัตราเร่งฉับไว เอทีวีสำหรับแข่งขันจะนิยมใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง ระบบกันสะเทือนด้านหน้าเป็นปีกนก 2 ชั้น คอยล์สปริง แต่บางค่าย เช่น POLARIS ATV สัญชาติอเมริกัน จะใช้กันสะเทือนด้านหน้าแบบ แมคเฟอร์สัน สตรัท (ดูได้จากช่วงล่างของรถเก๋งขนาดเล็ก เช่น honda city หรือ toyota soluna เป็นต้น) ส่วนกันสะเทือนหลังมักจะเป็นแบบสวิงอาร์ม คานแข็ง ใช้ช็อคอัพเดี่ยว แต่ประสิทธิภาพสูง ใช้โซ่ขับเคลื่อนเพื่อกินแรงเครื่องยนต์ให้น้อยที่สุด ระบบเบรคเป็นดิสก์เบรคทั้งหน้าและหลัง

ลิ้งค์ขนาดยางรถเอทีวี
145/70-6 16x6.50-8 16x7-7 16x8-7 16x8.00-7 18x11-8 18x7-7 18x9.50-8 19x7-8 19x8-7 20x10-8 20x11-10 20x11-9 20x7-8 20x7.00-8 20x8-8 21x10-10 21x10-8 21x12-10 21x12-8 21x12-9 21x7-10 21x8-9 22x10-10 22x11-10 22x11-8 22x11.00-10 22x11.00-8 22x11.00-9 22x12.5-10 22x12.5-8 22x12.5-9 22x7.00-10 22x8-10 23x10.00-10 23x7-10 23x8-11 24x10-11 24x11.00-10 24x8-11 24x9-11 25x10-12 25x10.00-12 25x12.00-10 25x12.00-9 25x13.5-9 25x8-12 25x9-12 26x12-10 26x12-12 26x8-12 26x9-12 27x12-12 27x9-12 145/70R6 19x8.00R7

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.honda-motorcycles.org , http://www.fourstrokesonly.com 
ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด

ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด


รถโฟล์คลิฟท์ (FORKLIFT)

รถโฟล์คลิฟท์ เป็นรถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสิ่งของ รถโฟล์คลิฟท์ได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2463 ในปัจจุบันรถโฟล์คลิฟท์ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า รถโฟล์คลิฟท์ เรียกทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า FORKLIFT เป็นการผสมคำสองคำ คือ FORK ที่แปลว่า ส้อม ซึ่งด้านหน้าของรถจะมีแท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถที่เรียกว่า "งา" เพื่อใช้สำหรับยกและวางสิ่งของเพื่อทำการเคลื่อนย้าย และ LIFT ที่แปลว่า การยกหรือเคลื่อนย้ายขึ้นและลงในแนวตั้ง รถโฟล์คลิฟท์ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ทุ่นแรงยกและการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่างๆ

รถโฟล์คลิฟท์แบ่งประเภทจากต้นกำลังขับเคลื่อนออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ENGINE FORKLIFT

รถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถโฟล์คลิฟท์ประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้อีก 3 ประเภท คือ
  1.1 DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล)
  1.2 GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเบนซิล)
  1.3 L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊ส L.P.G.)
นอกจากนั้นรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภทคือ
  - ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)
  - ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE)

2. BATTERY FORKLIFT

รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อน โดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ
- แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
- แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)

ซึ่งในรถโฟล์คลิฟท์แต่ละชนิด แต่ละประเภท จะมีขนาดและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รถโฟล์คลิฟท์สามารถเคลื่อนที่ด้วยล้อยาง 4 ล้อ โดยยางที่ใช้กับรถประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ยางรถโฟล์คลิฟท์ชนิดเติมลม
2. ยางตันรถโฟล์คลิฟท์
รถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาดจึงมีการใช้งานยางที่มีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน สภาพพื้นที่การทำงาน และความต้องการในการรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการยก ในกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหาย หรือหมดอายุการใช้งานของยางรถโฟล์คลิฟท์ การเปลี่ยนยางหรือกะทะล้อจะต้องมีขนาดที่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่า ขนาดกะทะล้อที่จะใช้ร่วมกับยางรถโฟล์คลิฟท์มีขนาดเท่าไหร่ สามารถดูข้อมูลได้จากตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด

Tire Size ขนาดยาง
Rim Size ขนาดกะทะล้อ
3.50-5
3.00-5
4.00-8
3.00-8
5.00-8
3.00-8
6.00-9
4.00-9
6.50-10
5.00-10
4.50-12
3.00-12
7.00 -12
5.00-12
2.50-15
7.00-15
5.50-15
4.50-15
7.00-15
5.50-15
7.50-15
6.00-15
7.50-16
6.00-16
8.25-15
6.50-15
3.00-15
8.00-15
9.00-20
7.00-20
10.00-20
7.50-20
16 x 6-8
4.33-8
18 x 7-8
4.33-8
21 x -8-9
6.00-9
23 x 9-10
6.50-10
28 x 8-15
7.00-15
28 x 9-15 (8.15-15)
7.00-15
15 x 41/2-8
3.00-8
140/55-9
4.00-9
200/50-10
6.50-10

ขนาดยางรถโฟล์คลิฟท์

15x41/2-8 16x6-8 18x7-8 21x8-9 23x10-12 23x9-10 250-15 27x10-12 28x9-15 300-15 4.50-12 5.00-12 5.00-8 5.50-15 5.70-12 6.00-15 6.00-9 6.50-10 6.50-16 6.90/6.00-9 7.00-12 7.00-15 7.00-16 7.00-9 7.50-10 7.50-15 7.50-16 8.15-15 8.25-12 8.25-15 8.25-16 9.00-16

ขนาดยางรถอุตสาหกรรม

10.00-20 12.00-20 12.00-24 14.00-24 16.00-24 16.00-25 17.5-25 18.00-25 18.00-33 12.00R20 21.00-25 12.00R24 14.00R24 23.5R25 16.00R25 18.00R25 26.5-25 18.00R33 8.25-20 9.00-20  

บทความเกี่ยวกับยางรถยนต์ , ยางรถโฟล์คลิฟท์ , ยางรถอุตสาหกรรม 

จำหน่ายยางรถยนต์ และยางรถบรรทุก
เทคนิคการขับรถออฟโรดในการลุยโคลนอย่างถูกต้อง

เทคนิคการขับรถออฟโรดในการลุยโคลนอย่างถูกต้อง

การขับลุยโคลนอย่างถูกต้อง

โคลนเป็นอุปสรรคที่สามารถพบได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการเดินทางในช่วงฤดูฝนของเหล่านักขับสิงห์ออฟโรด ก่อนเราจะเริ่มขับลุยโคลนไม่ว่ากรณีใดๆ จะเป็นแอ่งโคลนที่มีตื้นหรือลึก ควรมีการเดินสำรวจพื้นที่โดยรอบให้แน่ใจก่อน เพื่อหาจุดเหมาะสมในการขับข้าม เพราะสภาพของดินโคลนในธรรมชาติแต่ละจุดไม่เหมือนกัน อีกทั้งต้องพิจารณาต่อไปถึงเส้นทางข้างหน้าว่าเป็นอย่างไรมีความวิบากมากน้อยแค่ไหน การเลือกใช้ประเภทของเกียร์สำหรับรถออฟโรด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ การเลือกใช้เกียร์และความเร็วให้เหมาะสม ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเส้นทางราบตรงและมีแอ่งโคลนไม่ลึกมากขวางอยู่ ควรจะใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในตำแหน่งเกียร์ 4H หรือ PART-TME HIGH ก็เพียงพอแล้ว การเลือกใช้เกียร์ระดับนี้จะมีการกระจายกำลังที่เพียงพอ และควรเลือกใช้ความเร็วที่เหมาะสมในการขับผ่าน ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป ที่สำคัญควรรักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ บางครั้งหากใช้ความเร็วมากเกินไป ประกอบกับพื้นดินที่อยู่ด้านล่างนุ่มมาก อาจทำให้รถเกิดการติดหล่มได้ อีกทั้งขณะขับผ่านแอ่งโคลน ควรใช้เทคนิคการหักพวงมาลัยซ้าย-ขวา สลับกันไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน้ายางตะกายผ่านพื้นผิวของโคลนได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ความเร็วในการแล่นผ่านทางที่เป็นโคลน ต้องแน่ใจว่าไม่มีหินก้อนใหญ่ ๆ ฝังอยู่บริเวณด้านล่างของโคลนที่เราจะขับข้ามผ่าน เพราะถ้าหากมีหินขนาดใหญ่อยู่ด้านล่างที่เรามองไม่เห็น ยางอาจดีดก้อนหินขึ้นมาจนทำให้เกิดความเสียหายกับยางหรือตัวรถยนต์ได้


หากแอ่งโคลนข้างหน้ามีขนาดลึก ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่งเกียร์ 4L หรือ PART-TIME LOW เพื่อเพิ่มกำลังในการฉุดลากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเส้นทางด้านหน้าเป็นทางขึ้นเนินชันรออยู่ คงไม่ดีแน่หากต้องหยุดรถเพื่อเปลี่ยนเกียร์ เพราะอาจจะทำให้การไต่เนินชันทำได้ยากขึ้น และอาจจะต้องลงไปตั้งหลักที่ด้านล่างใหม่อีกครั้ง ดังนั้นก่อนที่จะขับผ่านอุปสรรคใดก็ตาม ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงเส้นทางข้างหน้าว่ามีความยากง่ายมากน้อยแค่ไหน จะทำอย่างไรเมื่อติดหล่มโคลน หากประเมินแล้วไม่สามารถขับผ่านแอ่งโคลนนั้นไปได้ ก็ไม่ควรฝืนเหยียบคันเร่งหนักๆเพื่อพยายามให้ขับผ่านแอ่งโคลนนั้น เพราะจะทำให้สถานการณ์กลับย่ำแย่ลงไปอีก โดยยางจะจมลงไปในโคลนมากขึ้น หากเป็นรถยนต์ออฟโรดแบบเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรกและขึ้นเบรกมือไว้ จากนั้นผลักดันคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จึงสตาร์ทเครื่องอีกครั้งโดยที่เท้ายังเหยียบเบรกอยู่ ต่อจากนั้นเข้าเกียร์ต่ำหรือเกียร์ถอยหลังปลดเบรกมือและค่อยปล่อยเท้าจากการเหยียบเบรกมากดคันเร่งอย่างค่อยๆ จนตัวรถยนต์เริ่มมีการขยับตัวพอให้เคลื่อนที่ได้ หากเป็นเกียร์ธรรมดาอาจจะใช้วิธีเข้าเกียร์แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์ จะทำให้ตัวรถยนต์ กระตุกและเคลื่อนตัวจนถึงหลุดจากหล่มโคลนนั้นได้ ถ้าหากทดลองแล้วทุกวิธีแต่ยังติดหล่มอยู่ที่เดิมและสถานการณ์ย่ำแย่จริงๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องลากหรือวินซ์ในการฉุดลากขึ้นจากแอ่งโคลนนั้นๆ



ยางสำหรับรถออฟโรด


ยางออฟโรด มีลักษณะแตกต่างจากยางรถกระบะหรือยางรถเอสยูวีทั่วไปมาก ลักษณะดอกยางเป็นก้อนๆ ที่เรียกกันว่ายางดอก Mud-Terrain ดอกยางขนาดใหญ่วางเรียงกัน โดยมีร่องดอกยางค่อนข้างกว้างและลึก เพื่อช่วยเพิ่มแรงกรุยดินโคลนได้ดี แนวยางยาวและลึกตลอดหน้ายางช่วยในการสะบัดหินและโคลนได้ดี ยางประเภทนี้เหมาะกับการใช้วิ่งบนเส้นทางออฟโรด เป็นดินโคลน หรือดินทรายได้ดี ใช้ความเร็วในการวิ่งไม่มากนัก ด้วยลักษณะดอกยางขนาดใหญ่ ร่องยางกว้างและลึก ทำให้หน้าสัมผัสยางสัมผัสกับพื้นผิวน้อยกว่ายางทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานบนท้องถนนด้วยความเร็วสูง หากนำไปใช้ในความเร็วสูง อาจทำให้เกิดการสะบัด ลื่นไถลขณะโค้ง และเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายต่อรถและผู้ใช้งานได้ หากนำมาใช้งานบนถนนควรใช้ความเร็วต่ำ และควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังอย่างมาก


นอกจากนี้ยังมียางออฟโรด สำหรับใช้งานบนท้องถนนได้ด้วย ที่เรียกกันว่ายางดอก All-Terrain ซึ่งยางชนิดนี้มีลักษณะดอกยางเล็กกว่าแบบ Mud-Terrain และมีร่องดอกยางที่เล็กและถี่ ซึ่งให้หน้าสัมผัสกับพื้นผิวมากกว่า แต่ยังคงความสามารถในการกรุยหิน ดิน โคลนได้ดี แต่น้อยกว่ายางออฟโรดแบบแรก ยางแบบ All-Terrain เป็นที่นิยมใช้งานแพร่หลาย ในกลุ่มผู้ใช้รถกระบะยกสูง ให้ความสวยงามแก่รถที่ใส่ การใช้งานหลากหลาย ขับขี่ได้ทั้งพื้นที่ป่าเขา มีดินโคลน และสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดี


ขนาดของยางออฟโรด
245/65R15, 30x9.5R15, 31x10.5R15, 33x12.5R15, 245/75R16, 265/75R16, 285/75R16, 31x12.5R16, 265/70R17, 37x12.5R17, 36x12.5R16.5, 36x12.5R16.5, 37x12.5R16.5, 33x10.5-16, 36x12.5-16 , 31x10.5R15, 30X9.50 R15, 235/75 R15, 35x12.5R20


ลิ้งค์สำหรับขนาดยางรถออฟโรด 33x12.5R15 31x10.5R15 30x9.50R15 285/75R16 265/75R16 245/75R16 267/70R17 35x12.5R20 33x10.5-16 36x12.5-16

ขอบคุณรูปภาพประกอบสวยๆจาก upload.wikimedia.org , www.zycietoprzygoda.pl ,  www.bestfreejpg.com , www.caradvice.com.au


จำหน่ายทุกยี่ห้อ อาธิเช่น ยาง AUFINE , ADVANCE , DEESTONE , DURO , BKT , BRIDGESTONE , ARMOUR , SHUNGIN , VEE RUBBER , DOUBLE COIN , OASIS , SAMSON , OTANI , HANKOOK , AEOLOUS , CONTINENTAL , MICHELIN , EXCEL , NAGANO , SIAMES , AMS และอื่นๆอีกมากมาย

ชมสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tiretruckintertrade.com/

บทความต่างๆเกี่ยวกับยางรถยนต์และบทความน่ารู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์

FANPAGE : https://www.facebook.com/tiretruckcenterintertrade

EMAIL : SALE@TIRETRUCKINTERTRADE.COM

TEL. : 053-510068 , 083-0938048 , 094-7201988   FAX : 053-510068

BelAZ 75710 รถบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

BelAZ 75710 รถบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

BelAZ 75710 ก้าวขึ้นมาเป็นรถที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีชัยเหนือแชมป์เก่าอย่าง Liebherr T 284 ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในกลุ่มของรถบรรทุก ด้วยขีดความสามารถในการรับน้ำหนักโหลดได้ถึง 450 ตัน จึงทำให้ BelAZ 75710 กลายเป็นรถบรรทุกสำหรับอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยที่ Liebherr T 284 ทำได้ที่ 400 ตัน

รถบรรทุกการทำเหมืองแร่นี้ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคมปี 2013 แต่การผลิตจะเริ่มในปี 2015 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ BelAZ 75710 ยังไม่ได้รับการบันทึกสถิติโลกให้เป็นรถที่ใหญ่ที่สุดจากกินเนสส์บุ๊คอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม บริษัท ที่มีการผลิตรถบรรทุกมีความมั่นใจว่าจะก้าวขึ้นมาครองอันดับรถที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างแน่นอน

รูป Liebherr T 284 อดีตรถที่ใหญ่ที่สุดในโลก





รถบรรทุกการทำเหมืองแร่ BelAZ 75710 เปิดตัวโดย บริษัท เบลารุส Belaz ในตุลาคม 2013 ภายใต้การสั่งซื้อโดยบริษัทเหมืองแร่ในรัสเซีย และกำลังมีการทดสอบใช้งานในเหมืองไซบีเรียก่อนที่จะถูกผลิตและส่งให้ปฏิบัติงานในเหมืองแร่ขนาดใหญ่ทั่วโลกต่อไป ขนาดของเจ้ารถคันที่ใหญ่ที่สุดในโลกคันนี้อยู่ที่ ความยาว 206 เมตร สูง 81.6 เมตร และกว้าง 98.7 เมตร น้ำหนักรถเปล่าอยู่ที่ 360 ตัน Belaz 75710 ประกอบด้วยล้อขนาดใหญ่ทั้งหมด 8 ล้อ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 16 สูบ กำลัง 2,300HP สามารถทำความเร็วได้ถึง 64km/h ยางรถที่ใช้มีขนาด 59/80R63

ความรู้เรื่องยาง ขนาด 59/80R63

ยางรถขนาดใหญ่ประเภท Giant OTR ซึ่งขนาดใหญ่มหาศาลและราคาแสนแพงนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกมหาศาล คือ ยาง 6 เส้นต้องรับน้ำหนักบรรทุกถึง 1.375 ล้านปอนด์(600 ตัน) ยาง 1 เส้นหนักถึง 5.3 ตัน มีสูงเกือบ 4 เมตร(13 ฟุต) ผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่าง Michelin และ Bridgestone ยังคงถือครอบการผลิตยางพิเศษนี้ แต่ก็ได้มีผู้ผลิตรายใหม่ที่เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมยางเหมืองแร่ อย่างกลุ่มบริษัท Titan เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาและผลิตยาง Giant OTR

ลิ้งค์สำหรับยางรถเหมือง Giant OTR Tire

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.skyscrapercity.com , http://hybridtechcar.com , mining-technology.com
ยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมป่าไม้ (Forestry Tire) ยางรถเก็บเกี่ยว (Harvester Tire)

ยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมป่าไม้ (Forestry Tire) ยางรถเก็บเกี่ยว (Harvester Tire)



ปัจจุบันได้มีการนำเอารถตักและรถแทรกเตอร์เข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมป่าไม้เพื่อเพิ่มผลผลิตจากเดิม ซึ่งรถที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยยางที่มีความแข็งแรงทนทานสูง ยางจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมการตัดไม้ เนื่องจากต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย พื้นผิวที่หลากหลายมีทั้งสภาพที่เป็นดิน หญ้า มีกิ่งไม้และหนามแหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องรองรับน้ำหนักท่อนซุงที่ต้องการเคลื่อนย้ายอีกด้วย ยางที่ใช้จะต้องมีความแข็งแรงทนทานมากกว่ายางแทรกเตอร์ทั่วไปมากเป็นพิเศษในป่าไม้ เช่นเดียวกับการทำงานในการทำงานที่ราบเรียบในแบบปกติของงานด้านการเกษตรกรรมตลอดการใช้งาน 

ดังนั้นลักษณะของยางที่ใช้จะมีโครงสร้างของยางพิเศษเฉพาะตัว ดังต่อไปนี้

1. มีโครงสร้างเปลือกชั้นผ้าใบที่แข็งแรง

2. มีโครงสร้างเหล็กเสริมความแข็งแกร่ง

3. ร่องยางลึกกว่ายางแบบปกติและมีการเสริมโครงสร้างที่ผนังด้านข้างยางกว่าปกติ

4. มีสารประกอบยางแบบพิเศษและลักษณะดอกยางแบบพิเศษ

5. ลายดอกมีคุณสมบัติที่สลัดโคลนเพื่อป้องกันความเสียหายของตัวบังโคลน

ลายดอกยางสำหรับรถตักและรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในงานป่าไม้ และงานเก็บเกี่ยว


ลายดอกยางแบบ LS-2 สำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมป่าไม้ ลากซุง และงานเก็บเกี่ยว


ลายดอกสำหรับงานแทรกเตอร์ทั่วไป งานเกษตรทั่วไป R-1

ซึ่งลายดอกแบบ R-1 เป็นลายดอกยางสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรทั่วไป ไม่เหมาะกับงานหนักหรืองานป่าไม้

ยางรถลากซุง ยางรถป่าไม้ ยางรถเก็บเกี่ยวมีขนาดดังต่อไปนี้
400/60-15.5, 500/60-15.5, 500/55-17, 400/70-20, 500/50-20, 320/85-24, 380/70-24, 380/85-24, 420/70-24, 11.2-24, 12.4-24, 13.6-24, 14.9-24, 18.4-26, 23.1-26, 28L-26, 340/85-28, 380/70-28, 380/85-28, 420/70-28, 420/85-28, 460/85-28, 480/70-28, 540/65-28, 650/65-38, 13.6-28, 14.9-28, 16.9-28, 420/85-30, 460/85-30, 14.9-30, 16.9-30, 18.4-30, 24.5-32, 30.5L-32, 35.5L-32, 420/85-34, 480/70-34, 520/70-34, 16.9-34, 18.4-34 (460/85-34), 23.1-34, 420/85-38, 460/85-38, 480/70-38, 520/70-38, 520/85-38, 580/70-38, 16.9-38, 18.4-38, 20.8-38 (520/85-38) , 600/60-28, 600/60R28, 710/70R42, 500/45-22.5, 500/60-22.5, 550/45-22.5, 600/40-22.5, 600/50-22.5, 600/50R22.5, 700/45-22.5, 710/40-22.5, 600/50-24.5, 600/50R24.5, 650/45R24.5, 710/40-24.5, 710/40R24.5, 500/60-26.5, 600/55-26.5, 600/55R26.5, 650/65-26.5, 600/55R26.5, 700/50-26.5, 710/45-26.5, 710/45R26.5, 750/45-26.5, 750/55-26.5, 800/40-26.5, 800/45-26.5, 850/45-26.5, 600/60-30.5, 700/50-30.5, 800/45-30.5, 600/65-34, 600/65R34, 700/55-34, 700/70-34, 710/55R34, 650/65-38, 650/65R38

ขอบคุณรูปภาพจาก clarkforest.com , wikimedia.org , http://ronstractor.com
สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็วของยางรถยนต์

สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็วของยางรถยนต์


เป็นสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุดของยางที่สอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถในการรับน้ำหนัก

สัญลักษณ์แสดง
ขีดจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุด
(กม./ชม.)
สัญลักษณ์แสดง
ขีดจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุด
(กม./ชม.)
A1 5
A2 10
A3 15
A4 20
A5 25
A6 30
A7 35
A8 40
B 50
C 60
D 65
E 70
F 80
G 90
J 100
K 110
L 120
M 130
N 140
P 150
Q 160
R 170
S 180
T 190
U 200
H 210
V 240
W 270
Y 300

สำหรับยางบางขนาดที่มีการแสดงสัญลักษณ์ขีดจำกัดความเร็วไว้เป็นตัวอักษร Z โดยรวมอยู่ในการบอกขนาดยางและไม่มีดัชนีการรับ น้ำหนักนั้นสามารถใช้ความเร็วได้มากกว่า 240 ก.ม./ช.ม.

สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุด
(กม./ชม.)
โครงสร้างแบบเรเดียล โครงสร้างแบบธรรมดา
ZR ZB 240

เมื่อเราทราบถึงขีดจำกัดความเร็วของยางแล้ว เรามาดูขีดจำกัดการใช้ความเร็วบนท้องถนนกันต่อเลย...

ขีดจำกัดการใช้ความเร็วบนท้องถนน (Speed limit) ในระดับสากลขีดจำกัดความเร็วเป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกสำหรับมาตรการเพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่อย่างปลอดภัย โดยขีดจำกัดความเร็ว จะถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมความเร็วของยานพาหนะ ให้เหมาะสมกับประเภทของถนนและประเภทของยานพาหนะ ดังต่อไปนี้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าถนนสร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเท่านั้น แต่จริงแล้วถนนมีหลายประเภท และถนนแต่ละประเภทถูกสร้างมาให้ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ถนนแต่ละประเภทควรให้บริการตามหน้าที่หลักของตนอย่างเหมาะสม โดยถนนสายหลักควรให้ความสำคัญกับความสามารถในการเคลื่อนที่ ให้รถที่เดินทางไกลสามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ดังนั้นจะต้องมีการจำกัดตำแหน่งเชื่อมต่อและเข้าออกพื้นที่ข้างทาง เพื่อลดการตัดกระแสจราจร นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ข้างทางกับถนนสายนี้ได้ ซึ่งในขณะเดียวกันถนนสายท้องถิ่นซึ่งเป็นถนนสายย่อย สายสั้นๆ ในเขตที่พักอาศัย ควรทำหน้าที่ให้บริการการเข้าออกพื้นที่ ในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัย และความรื่นรมย์ของบริเวณที่พักอาศัย ดังนั้น เราไม่ต้องการให้รถ ใช้ถนนสายท้องถิ่นด้วยความเร็วสูง นั่นคือ ไม่สามารถเน้นความสามารถในการเคลื่อนที่กับถนนสายนี้ได้
ในพื้นที่หนึ่งๆ การจะให้ถนนสามารถทำหน้าที่ของมันได้ทั้งสองอย่าง คือสามารถให้ความสามารถในการเคลื่อนที่และความสามารถในการเข้าออกพื้นที่ข้างทาง ต้องใช้ถนนหลายๆประเภท ประกอบกันเป็นโครงข่ายถนนที่สมบูรณ์  เพื่อให้ถนนแต่ละสายสามารถให้บริการตามหน้าที่ที่เหมาะสม

 ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องให้รถวิ่งได้เร็วบนถนนทุกสาย การเลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับประเภทและหน้าที่ของถนนเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน หากต้องการลดการตายบนถนน

ยางเรเดียลหรือยางรถยนต์ที่สำคัญมีดังนี้
145/70R12, 155/70R12, 155R12C, 155/70R13, 155/80R13, 165R13, 165R13C, 165/65R13, 165/70R13, 175/70R13, 175/80R13, 185/70R13, 185/60R13, 195/50R13, 175/65R14, 175/70R14, 185/60R14, 185/65R14, 185/70R14, 185R14C, 195R14, 195R14C, 195/70R14, 205/70R14, 205/75R14, 205R14, 205R14C, 215/75R14, 215R14, 215R14C, 185/50R15, 185/55R15, 185/60R15, 185/65R15, 195/50R15, 195/55R15, 195/60R15, 195/65R15, 195/70R15, 195R15, 195R15C, 205/60R15, 205/65R15, 205/55R15, 205/70R15, 205/70R15C, 205/75R15, 205R15, 205R15C, 215/60R15, 215/65R15, 215/70R15, 215/70R15C, 215R15, 215R15C, 225/60R15, 225/70R15, 225/70R15C, 225/75R15, 235/75R15, 30x9.5R15, 31x10.5R15, 33x12.5R15, 33x10.5R15, 185/55R16, 195/50R16, 195/55R16, 195/60R16, 205/45ZR16, 205/50ZR16, 205/50R16, 205/55R16, 205/60R16, 205/65R16, 205/65R16C, 205/70R16, 205/75R16C, 205R16, 215/55R16, 215/60R16, 215/65R16C, 215/70R16, 215/75R16, 215/75R16C, 215/85R16, 215R16, 225/55R16, 225/60R16, 225/65R16, 225/70R16, 225/75R16, 225/75R16C, 235/60R16, 235/65R16C, 235/70R16, 235/80R16, 235/85R16, 245/70R16, 245/75R16, 255/70R16, 265/65R16, 265/70R16, 265/75R16, 285/75R16, 205/40R17, 205/45R17, 205/45ZR17, 215/45ZR17, 215/50ZR17, 215/55ZR17, 215/45R17, 215/50R17, 215/55R17, 225/45ZR17, 225/50ZR17, 225/55ZR17, 225/45R17, 225/50R17, 225/55R17, 225/65R17, 235/45R17, 235/65R17, 235/70R17, 245/45R17, 245/65R17, 245/70R17, 265/65R17, 265/70R17, 225/40R18, 225/45R18, 245/45R18, 225/40ZR18, 225/45ZR18, 235/40ZR18, 235/55R18, 255/55R18, 265/60R18, 235/35ZR19, 265/30ZR19, 245/40R19, 275/35R19, 265/50R20

ยี่ห้อยางรถยนต์ ยางรถเก๋ง ยางรถกระบะ ยางออฟโรด ยางรถ SUV ยางรถกระป๋อ ยางเรเดียล มีดังนี้
ยางกู๊ดเยียร์ ยางบริดจสโตน ยางดีสโตน ยางวีรับเบอร์ ยางโตโย ยางแม๊กซิส ยางดันลอป ยางฮานคุ๊ก ยางโยโกฮาม่า ยางไฟร์สโตน ยางมิชิลิน ยางคัมโฮ ยางนิโต๊ะ ยางบีเอฟกู๊ดริช

ลิ้งค์สำหรับขนาดยางรถยนต์ ยางรถเก๋ง ยางรถกระบะ ยางออฟโรด ยางรถ SUV ยางรถกระป๋อ ยางเรเดียล http://www.tiretruckintertrade.com/product_type.php?category_id=10

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bridgestone.co.th , trrsafety.blogspot.com

facebook fanpage

latest tweets