ยางดอกเทิร์ฟ (Turf Tire) ยางรถภาคสนาม สำหรับรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ รถภาคสนาม รถแทรกเตอร์ที่ใช้งานในสนามกอล์ฟ

BKT TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อบีเคที


LG 306 ยางสำหรับสนามหญ้าและสวน เหมาะสมสำหรับรถตัดหญ้าแบบนั่ง และบางขนาดยังเหมาะสำหรับใช้กับรถขนส่งในสนามบิน รถลากเครื่องบิน และรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ด้วยดอกยางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ทำให้ยางมีความอ่อนโยนต่อการใช้งานบนพื้นหญ้า ไม่สร้างความเสียหายให้กับพื้นหญ้า และในขณะเดียวกันยังคงความเข้มแข็ง ทนทาน ต่อการใช้งานอีกด้วย


TR 387 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์และรถพ่วง มีความสามารถในการลอยอยู่ในน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยเฉพาะ อีกทั้งยังป้องกันการตัด บาดตำจากของมีคม และทนทานต่ออุปสรรคระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี ยางรุ่นนี้ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถแทรกเตอร์ รถพ่วง รถบดถนน


TR 390 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์และรถพ่วง สามารถลอยอยู่ในน้ำ คุณสมบัติที่โดดเด่นและให้ความทนทานเพิ่มขึ้น ด้วยวัสดุชนิดพิเศษแบบ HD (heavy duty) เหมาะสำหรับใช้งานหนักโดยเฉพาะ


TR 391 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์ รถพ่วง และรถบด สามารถลอยอยู่ในน้ำ และดอกยางออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของดินและหญ้าระหว่างการใช้งาน


TR 461 ยางภาคสนามขนาดใหญ่ สำหรับรถแทรกเตอร์ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับงานสมบุกสมบัน เช่น ขุดมันสำปะหลัง ให้การป้องกันที่แก้มยาง ทนทานต่อการใช้งานแม้ในพื้นผิวแข็งและขรุขระ

CARLISLE TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อคาร์ไลส์





TURF PRO R-3 การออกแบบดอกยางให้สามารถลอยอยู่ในน้ำ เหมาะสำหรับสนามหญ้าและใช้งานทั่วไป โดยไม่ก่อความเสียหายให้กับดินและหญ้าขณะใช้งาน


ULTRA TRAC เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะพื้นที่ มีความสามารถในการลอยตัวสูง หน้ายางกว้าง แบนเรียบ และออกแบบให้ลดช่องว่างระหว่างดอกยาง คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี ในขณะที่ยังคงรักษาสภาพสนามหญ้าไม่ให้เกิดความเสียหาย ส่วนใหญ่มักใช้ในสนามกอล์ฟ และพื้นที่ที่เป็นสนามหญ้า

BRIDGESTONE TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อบริดจ์สโตน


FD ยางรถภาคสนาม ยางรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ และรถแทรกเตอร์ภาคสนาม ออกแบบดอกยางให้มีลักษณะเป็นข้าวหลามตัด ช่วยให้มีความสามารถในการยึดเกาะและเคลื่อนที่บนพื้นผิวหญ้าได้ดี โดยที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับพื้นหญ้าขณะใช้งาน ดอกยางหนาและใหญ่เพิ่มความคงทน แข็งแรง ป้องกันการบาดตำจากของมีคมได้ดี โครงสร้างยางแข็งแรงพิเศษเหมาะสำหรับงานสมบุกสมบัน อีกทั้งยังให้อายุการใช้งานยาวนาน


PD1 ยางรถภาคสนาม ยางรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ และรถแทรกเตอร์ภาคสนาม ออกแบบดอกให้มีความละเอียด ปกป้องพื้นผิวที่ใช้งานได้เป็นอย่างดี และยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับรถกอล์ฟ รถตัดหญ้าแบบนั่ง รถแทรกเตอร์ที่ใช้งานในสนามกอล์ฟ

ขนาดยางรถภาคสนาม
11.2-24 11.2/10-24 11x4.00-4 11x4.00-5 11x7.00-4 12.5/80-18 13.6-16 13.6-28 13x5.00-6 13x6.00-6 13x6.50-6 140-6 15x6.00-6 16.5x6.50-8 16.9-24 16.9-28 16X6.50-8 16x7.50-8 18x6.50-8 18x7.00-8 18x7.50-8 18x8.50-8 18x9.50-8 19.5L-24 190-8 205/50-10 20x10.00-10 20x10.00-8 20x8.00-8 215/60-8 21L-24 22x11.00-8 23x10.50-12 23x8.50-12 23x9.50-12 24x12.00-12 24x8.50-14 26x12.00-12 27x12.00-15 27x8.50-15 29x14.00-15 355/80D20 4.00-4 4.10/3.50-4 4.10/3.50-5 4.10/3.50-6 4.80/4.00-8 41x14.00-20 5.30/4.50-6 

โครงสร้างยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ยางผ้าใบแบบใช้ยางใน (Tube-type Tire)


ยางรถยนต์และยางรถประเภทอื่นๆ สามารถจำแนกตามโครงสร้างของยาง ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ยางเรเดียล

2. ยางผ้าใบ

โดยยางทั้ง 2 ประเภทนี้ มีทั้งแบบที่ใช้ยางใน+ยางรองคอ และแบบที่ไม่ใช้ยางใน แต่ยังมีผู้ใช้จำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า ยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน(Tubeless Tire) เป็นยางเรเดียล ซึ่งที่จริงแล้วยางเรเดียลกับยางผ้าใบต่างกันที่ชั้นวัสดุที่ออกแบบไว้สำหรับเสริมความแข็งแรงของตัวยาง โดยที่ยางเรเดียลจะใช้วัสดุเป็นเส้นใยลวดวางตลอดแนวหน้ายาง ส่วนยางผ้าใบจะใช้ผ้าใบเฉียงวางซ้อนกันตลอดแนวหน้ายาง 

จุดสังเกตง่ายๆ สำหรับการดูว่ายางที่เราใช้นั้น เป็นยางผ้าใบ หรือยางเรเดียล คือ ยางเรเดียลขนาดยางที่แก้มยางจะแสดงว่า 10.00R20 ซึ่งตัว R คือสัญลักษณ์แสดงถึง ยางเส้นนั้นเป็นยาง Radial 

 

ส่วนยางผ้าใบขนาดยางที่แก้มยางจะแสดงว่า 10.00-20 โดยใช้ - (ขีดกลาง)เป็นสัญลักษณ์แทนยางผ้าใบนั่นเอง


โดยที่ยางผ้าใบขนาดเดียวกัน อาจมีชั้นผ้าใบแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับยางที่ผลิตเพื่อใช้งานในลักษณะประเภทไหน เช่น ยางผ้าใบรถบรรทุกทั่วไปขนาด 10.00-20 16PR จะประกอบด้วยชั้นผ้าใบเฉียงวางซ้อนกันจำนวน 16 ชั้น ซึ่งเป็นจำนวนชั้นผ้าใบมาตรฐานสำหรับยางขนาดนี้ แต่ก็ยังมียางผ้าใบรถบรรทุก 10.00-20 18PR ซึ่งมีชั้นผ้าใบมากกว่ายางทั่วไปเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั้น และยางผ้าใบ 18PR มักจะเป็นยางดอกบั้งหรือดอกออฟโรด ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สำหรับใช้งานในเหมืองแร่ และใช้งานที่ต้องการรับน้ำหนักภาระงานที่มากกว่ายางทั่วไป ดอกยางแบบบั้งและแบบออฟโรดเพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องพบเจออุปสรรคสิ่งกีดขวาง ของมีคมต่างๆ มากกว่ายางผ้าใบทั่วไปนั่นเอง



รูปเปรียบเทียบโครงสร้างยางผ้าใบแต่ละชนิด

Tubeless (ทูปเลส หรือที่เรียกกันติดปากว่า "จุ๊บเลส") คือ ยางแบบไม่ใช้ยางใน ใช้แต่เพียงยางนอกอย่างเดียว โดยยางจะมีเนื้อยางหนาและโครงสร้างยางแข็งแรงขึ้น ขอบยางหนากว่ายางแบบใช้ยางใน เพื่อใช้อัดให้แน่นกับขอบกระทะล้อในการเก็บลม และเมื่อถูกวัตถุแหลมทิ่มตำ แล้วรูรั่วมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื้อของยางจะพยายามบีบรูนั้นไว้ ทำให้ลมยางค่อยๆซึมออกช้าๆ หรือหากว่าวัตถุแหลมคมนั้นยังปักติดกับหน้ายาง อาจสามารถใช้งานได้ไปอีกหลายวันกว่าที่ยางจะแบน

ยาง Tubeless ถูกออกแบบมาเพื่อลบจุดด้อยของยางในอดีต เพราะยางในอดีตนั้นเป็นยางแบบมียางใน หากถูกตะปูหรือวัตถุแหลมคมแทงทะลุยางชั้นนอกเข้าไปถึงยางชั้นใน ลมก็จะรั่วออกทันทีอย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่วินาทียางก็แบนสนิท หรืออาจถึงขั้นยางระเบิดทำให้รถเสียการทรงตัวและเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้


ข้อดีของยางผ้าใบแบบไม่ใช่ยางใน (Tubeless Tire)
1. เพราะไม่ต้องใช้ยางใน จึงตัดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายของยางใน ยางในรั่ว ยางในเสื่อมสภาพ
2. ขณะที่ยางถูกของมีคมทิ่มตำ ลมยางจะไม่รั่วออกฉับพลัน แต่จะค่อยๆซึมออกทีละนิดป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากความเสียหายจากยางได้
3. โอกาสที่ยางจะระเบิดนั้นมีน้อยกว่ายางแบบมียางใน เพราะยางแบบ Tubeless มีความร้อนสะสมน้อยกว่ายางแบบมียางใน เนื่องจากยางแบบใช้ยางใน เวลาวิ่งนั้นยางนอกและยางในจะเกิดการเสียดสีกัน
เองทำให้เกิดความร้อนสะสมสูง
4. ช่วยในการลดน้ำหนักยาง และช่วยให้การบำรุงรักษายางได้ง่ายขึ้น

ข้อสียของยางผ้าใบแบบไม่ใช่ยางใน (Tubeless Tire)
1. มีราคาสูงกว่ายางผ้าใบแบบใช้ยางใน
2. หากเกิดความเสียหายที่ทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ จะไม่สามารถปะยางแบบทั่วไปได้ จะได้ถอดยางเพื่อนำไปสตรีมยางด้วยความร้อน และขั้นตอนการปะยางนี้เอง หากดำเนินการแบบไม่ระมัดระวังแล้ว จะทำให้เกิดการตกค้างของสิ่งสกปรกต่างๆภายในตัวยาง และเมื่อนำยางกลับมาใช้งานหลังจากปะ สิ่งสกปรกเหล่านั้นอาจทำความเสียหายให้กับเนื้อยางด้านในได้



ข้อดีของยางแบบมียางใน  
1. ราคาค่อนข้างถูก
2. กรณียางโดนตะปูหรือของมีคมตำนั้น ค่าปะยางมีราคาถูก
3. สามารถอัดลม รองรับการบรรทุกหนักได้ดีกว่า เช่น รถสิบล้อ รถแทรคเตอร์
4. มีความยืดหยุ่น แก้มยางไม่ต้องออกแบบมาเป็นพิเศษ ใช้ในที่ทุรกันดารได้ดี

ข้อเสียของยางแบบมียางใน
1. เมื่อยางโดนตะปูหรือวัตถุมีคมแทงทะลุยางชั้นนอก เข้าไปถึงยางชั้นใน ลมก็จะรั่วออกอย่างรวดเร็ว
2. ต้องหมั่นเติมลมยางให้แข็งอยู่เสมอ เพราะถ้าลมอ่อน จะทำให้เวลารถวิ่งยางนอกจะไปเสียดสีกับยาง
ในทำให้ยางรั่วได้
3. เนื่องจากยางแบบใช้ยางใน เวลาวิ่งนั้น ยางนอกและยางในจะเกิดการเสียดสีกัน
เองทำให้เกิดความร้อนสูง ถ้ายางระเบิดขณะขับรถอยู่ อาจทำให้เกิดอันตรายได้

ข้อควรระวัง
1. การประกอบยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากขอบยางเสียหายจะทำให้เกิดการรั่วซึมที่ขอบยางได้
2. ต้องตรวจสภาพขอบกะทะล้อ และวาล์วเติมลมให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วซึมที่บริเวณดังกล่าว
3. เนื่องจากยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน เมื่อมีการรั่วซึม ลมยางจะค่อยๆอ่อนตัวลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ใช้งานอาจไม่ทราบว่ายางรั่ว ดังนั้นจึงควรตรวจวัดลมยางอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าลมยางลดลงหลังจากที่เติมลมยางภายในระยะเวลาสั้นๆ ควรนำยางไปตรวจเช็คเพื่อหารอยรั่วต่อไป

นอกจากยางรถบรรทุกแล้ว ยังมียางรถอีกหลายประเภทที่เป็นยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) เช่น ยางรถตัก ยางรถเกรด ยางรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ยางรถการเกษตร ยางรถภาคสนาม ยางรถกอล์ฟ ยางรถเอทีวี ยางออฟโรด เป็นต้น

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก http://global.yokohamatire.net/index.html

รถคีบอ้อย และคุณสมบัติของยางรถคีบอ้อย



รถคีบอ้อยเป็นรถจักรอุตสาหกรรมเกษตร ที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย พบได้ตามไร่อ้อย ลานมัน และอุตสาหกรรมป่าไม้ ลักษณะของรถคีบอ้อยคือ จะมีส่วนของปากคีบขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้า ทำหน้าที่คีบสิ่งของที่ต้องการเช่น ลำอ้อย กิ่งไม้ ท่อนซุงต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทำให้ภาระงานจะอยู่ในส่วนด้านหน้าของรถคีบอ้อยมากเป็นพิเศษ ลักษณะของยางรถคีบอ้อยจึงมีลักษณะยางล้อหน้าขนาดใหญ่กว่ายางล้อหลัง



รถคีบอ้อย มีทั้งชนิด 3 ล้อ และ 4 ล้อขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถในแต่ละชนิด โดยลักษณะยางรถคีบอ้อยสำหรับใช้งานในไร่ จะมีลักษณะดอกยางเป็นลายก้างปลาทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ซึ่งจะช่วยในการทำงานในพื้นที่ที่มีอุปสรรค ต้องการแรงกุยและการยึดเกาะพื้นผิวเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องการความแข็งแรง ทนทาน และพร้อมใช้งานสมบุกสมบันกว่ารถคีบอ้อยที่ใช้งานบนลานอ้อยและโรงงานน้ำตาล ซึ่งรถคีบอ้อยแบบหลังลักษณะยางที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะมียางล้อหน้าเป็นแบบก้างปลาหรือแบบดอกเรียบก็ได้ แต่ล้อหลังจะเป็นยางดอกเรียบ หรือบางทีผู้ใช้งานก็สามารถนำยางตันโฟล์คลิฟท์มาประยุกค์ใช้งานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน และรับน้ำหนักได้มากเป็นพิเศษ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของยางแตก ยางระเบิด และความเสียหายของยางจากของมีคม และอุปสรรคจากการใช้งานต่างๆได้

รถคีบอ้อยชนิด 4 ล้อในบางผู้ผลิตรถ ได้นำเอายางรถบรรทุกที่มีลักษณะยางดอกบั้ง หรือยางหน้าลายเข้ามาใช้งานในส่วนนี้เพื่อประหยัดงบประมาณ และนอกจากรถคีบอ้อยแล้ว รถแทรกเตอร์ก็สามารถใช้งานในลักษณะรถคีบอ้อยได้เหมือนกัน โดยรถแทรกเตอร์บางรุ่นบางยี่ห้อ ได้มีการเพิ่มในส่วนของอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีลักษณะเป็นปากคีบเช่นเดียวกับรถคีบอ้อยไว้ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้


โครงสร้างของรถคีบอ้อย

รถคีบอ้อยสำหรับใช้งานในไร่อ้อย

รถคีบอ้อยแบบ 4 ล้อ

รถคีบอ้อยที่ใช้ล้อหลังเป็นยางก้างปลา

รถคีบอ้อยที่ใช้ในโรงงาน

ยางรถคีบอ้อย
ยางรถคีบอ้อยแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆด้วยกันคือ
1. ยางดอกก้างปลา (ใช้ได้ทั้งล้อหน้า และล้อหลัง)
2. ยางดอกเรียบ (ใช้สำหรับล้อหลัง)


ยางรถคีบอ้อยดอกก้างปลา จะมีลักษณะเหมือนยางรถไถ และยางรถแทรกเตอร์ คือมีลักษณะเป็นบั้งวางสลับกันคล้ายก้างของปลา มีดอกยางที่หนาและใหญ่แต่ไม่ลึกมาก มีความกว้างของหน้ายางค่อนข้างมากลักษณะยางอ้วนๆ แตกต่างจากยางรถไถทั่วไป แต่จะเหมือนกับยางรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรในต่างประเทศ ซึ่งบ้านเรายังมีรถแทรกเตอร์ประเภทนี้ค่อนข้างน้อย ด้วยลักษณะยางดังกล่าวจึงสามารถรับน้ำหนักภาระงานซึ่งมีน้ำหนักด้านหน้าค่อนข้างมาก และให้ความทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระได้ดี ให้แรงกุยและการยึดเกาะบนพื้นผิวขรุขระได้ดี และยังสามารถใช้ได้บนพื้นผิวเรียบได้อีกด้วย

ยางรถคีบอ้อยดอกเรียบ มีลักษณะเหมือนยางรถพ่วงการเกษตร และยางล้อหน้ารถไถต่างๆ ยางล้อหลังของรถคีบอ้อยชนิด 3 ล้อ จะมีหน้าที่ในการบังคับเลี้ยว ดังนั้นรถคีบอ้อยจึงมีลักษณะดอกยางเป็นร่อง 3-4 ร่อง ขอบด้านข้างของหน้ายางมีลักษณะเป็นบั้ง หรือไม่เป็นบั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของยางแต่ละยี่ห้อ เพื่อให้สามารถบังคับเลี้ยวได้สะดวก

ยางดอกเรียบ 3 ร่องขอบบั้ง
ยางดอกตัว L (ดอกรถเกรด)
ยางชนิดพิเศษ ลายดอกบั้ง

ยางตันโฟล์คลิฟท์ ที่นำมาประยุกค์ใช้งานกับล้อหลังของรถคีบอ้อย

ยางรถบรรทุกดอกบั้ง ที่มีการนำมาใช้งานในรถคีบอ้อย 4 ล้อ

ขนาดยางรถคีบอ้อยที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายได้แก่
380/55-17 , 400/60-15.5 , 560/60-22.5 , 600/55-22.5 , 700/45-22.5 , 710/40-22.5 , 11.5/80-15.3 , 12.5/80-15.3 , 11L-15 , 11L-16 ฯลฯ
ตั้งศูนย์คืออะไร แล้วทำไมรถยนต์ต้องตั้งศูนย์ล้อ?

ตั้งศูนย์คืออะไร แล้วทำไมรถยนต์ต้องตั้งศูนย์ล้อ?

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ หลังจากเปลี่ยนยางใหม่


การตั้งศูนย์ล้อคืออะไร
การตั้งศูนย์ล้อ คือการทำให้ส่วนประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบังคับเลี้ยว ระบบช่วงล่างล้อและยาง ทำงานสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ตรง ไม่ดึงไปทางซ้ายหรือขวา ระบบช่วงล่างและระบบบังคับเลี้ยวของรถนั้นมีชิ้นส่วนต่างๆมากมายที่มีการเคลื่อนไหวขณะรถวิ่ง และย่อมจะมีการสึกหรอเกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ศูนย์ล้อผิดเพี้ยนไปจากสเปคที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับตั้งศูนย์ล้อเพื่อให้ได้ค่าตามที่กำหนดไว้ในสเปคของรถ นอกจากนั้นศูนย์ล้อยังขึ้นอยู่กับความสูงของตัวรถกับพื้นถนนและการกระจายน้ำหนักลงบนล้อรถด้วย กล่าวคือ เมื่อรถถูกใช้งานนานขึ้น คอยส์สปริง, บูช, ลูกยางต่างๆ ก็เริ่มหมดอายุ ความสูงและการกระจายน้ำหนักของรถก็ผิดไปจากมาตรฐานเดิม อันจะส่งผลให้ศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเป็ค เมื่อใดก็ตามที่ศูนย์ล้อไม่ถูกต้องตามสเปค ล้อรถกับตัวถังหรือล้อข้างซ้ายกับล้อข้างขวาก็จะไม่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นผลให้รถวิ่งไม่ตรง หรือเกิดอาการแฉลบ หรือพวงมาลัยดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ยางสึกผิดปกติ

การตั้งศูนย์เป็นการปรับหน้าล้อให้เท่าๆกัน มุมToe-in Toe-out-มุมเลี้ยว Toe out on turns ซึ่งต้องสัมพันธ์กันทุกมุม เพื่อให้รถวิ่งได้ตรงมากที่สุด โดยที่เราไม่ต้องเกร็งมือในการรั้งพวงมาลัยมากเกินไปจนเกิดการเมื่อยล้า หรือเมื่อปล่อยมือสัก 1 -5 วินาทีรถยังคงวิ่งได้ตรงอยู่ รวมถึงในขณะเลี้ยวล้อคู่หน้าจะต้องเอียงตามตามเหมาะสมและไม่กินหน้ายางมากเกินไป และให้หน้ายางสัมผัสผิวถนนให้มากที่สุด และการตั้งศูนย์ล้อยังช่วยปรับศูนย์รถระหว่างล้อคู่หน้า-คู่หลังให้วิ่งเป็นแนวเดียวกัน

ทำไมต้องมีการปรับตั้งศูนย์ล้อ
เพราะการที่รถมีศูนย์ล้อที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้ยางเกิดการสึกที่ผิดปกติแล้ว ยังมีผลต่อระบบควบคุมบังคับทิศทางของรถด้วย ดังนั้นหากรถที่มีอาการผิดปกติในการควบคุมบังคับทิศทางของรถ หรือสังเกตเห็นว่ายางที่ใช้อยู่มีลักษณะสึกที่ไม่สม่ำเสมอ หรือผิดปกติก็สามารถบ่งชี้ได้ว่าศูนย์ล้อรถ จำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็ค และปรับตั้งศูนย์ล้อแล้ว และแม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการ ซื้อยางชุดใหม่ ซ่อมแซมช่วงล่างและที่สำคัญคืออันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินและชีวิต รถได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาฉะนั้นรถรุ่นใหม่ๆจึงได้รับการออกแบบ ช่วงล่างฉะนั้นรถรุ่นใหม่ๆ จึงได้รับการออกแบบช่วงล่างและระบบพวงมาลัยที่ต้องการปรับตั้งศูนย์ล้อทั้ง ล้อหน้าและล้อหลัง

องค์ประกอบของศูนย์ล้อ ซึ่งมีการตรวจวัดด้วยกัน 4 มุมคือ
1. TOE-IN และ TOE-OUT
2. CAMBER
3. CASTER
4. KINGPIN

มุม TOE-IN และ TOE-OUT
หมายถึง ลักษณะที่ยางคู่หน้าหุบเข้า หรือยางล้อหน้า ทั้งสองหันเข้าหากัน และ มุม TOE-OUT คือ ล้อหน้าทั้งสองหันออกจากกัน (ดูภาพตัวอย่างประกอบ) ถ้าล้อทั้งสองหันเข้าหากัน มากเกินไป หรือหันออกจากกันมากเกินไป จะทำให้หน้ายางทั้งสองเกิดการลื่นไถลเสียดสีไป ด้านข้างผลคือทำให้ดอกยางสึกอย่างรวดเร็ว หรือสึกไม่สม่ำเสมอมีลักษณะปลายดอกยาง ตวัดขึ้น เหมือนปลายขนนกตลอดหน้ายาง

มุม CAMBER
เป็นการเอียงของยางส่วนล่างหรือส่วนบน ถ้าส่วนล่างเอียงเข้าหากันเราเรียกว่ามุม CAMBER บวก (ดูภาพตัวอย่างประกอบ) การเอียง ยางส่วนบนกางออกในลักษณะ \  / เพื่อให้ยางรับ น้ำหนักบรรทุกได้พอดีกับหน้ายาง เมื่อใช้รถ ไปนานๆ มุมของ CAMBER อาจเปลี่ยนแปลง ไปได้ และถ้าเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่กำหนดไว้น้ำหนักจะกดลงที่ด้านนอกของยางมากกว่า ด้านในทำให้ยางสึกผิดปกติด้านเดียว

มุม CASTER
เป็นมุมที่ทำให้รถวิ่งตรงไปข้างหน้าได้ง่าย ดูตัวอย่างได้จากรถจักรยานขาที่ยึดล้อทั้งคู่จะเอียงไปด้านหน้าเห็นได้ว่ารถ จักรยานสามารถ วิ่งไปโดยปล่อยมือได้ เปรียบได้กับ มุม CASTER ทั้งสองล้อต้องมีมุมเท่ากัน ซึ่งจะทำให้รถวิ่งไปข้างหน้าได้ตรงทาง ถ้ามุม CASTER ข้างใดน้อยกว่าอีกข้าง หนึ่งรถก็จะพยายามหันไปทางด้านน้อย ผู้ขับรถต้องพยายามขืนพวงมาลัยเสมอจะทำให้ยางสึกไม่เรียบเกิดการสึกของดอก ยางใน ลักษณะปลายตวัดเหมือนขนนก

มุม KINGPIN
เป็นตัวรับน้ำหนักจากรถไปยังล้อ และขณะเดียวกันก็เป็น พลาของศูนย์ล้อด้วยมุมของ KINGPIN มีส่วนสัมพันธ์กับมุมของ CAMBER มาก KINGPIN จะช่วยทำให้การบังคับพวง มาลัยทำได้ง่ายและเมื่อเลี้ยวไปแล้วพวงมาลัยสามารถคืนกลับมาได้เอง KINGPIN นี้เหมือน กับ CAMBER ทำให้น้ำหนักรถกดลงที่ด้านนอกของยาง ถ้า KINGPIN ผิดพลาด ผลคือจะทำ ให้ยางสึกหรอด้านเดียว

ศูนย์ล้อที่ผิดพลาดจะทำให้อายุของยางลดลงอย่างรวดเร็ว สามารถสังเกตได้คร่าว ๆ จากความผิดปกติของการสึกหรอของยางแต่ศูนย์ ล้อที่ไม่ถูกต้องไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า คนส่วนมากจึงไม่ค่อยสนใจซึ่งความจริงที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากส่วนหนึ่ง ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คและตั้งศูนย์ล้อเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน หรือภายหลังจากการทำการซ่อมช่วงล่างทุกครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน ของยาง และเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่

การทดสอบรถหลังจากตั้งศูนย์ล้อ
ถึงแม้ว่าจะมีการตั้งศูนย์ล้อตามสเป็ครถแล้วก็ตาม แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากที่มีผลกระทบต่อศูนย์ล้อเช่น การสึกหรอของระบบช่วงล่าง ระบบโครงสร้างรถยนต์ ลายยาง ลมยาง ดังนั้นหลังจากการตั้งศูนย์ล้อแล้วผู้ใช้รถจึงควรที่จะไปทดสอบรถเพื่อให้ คุ้นเคยกับรถที่ผ่านการตั้งศูนย์มาแล้ว โดยปกติแล้วศูนย์ล้อที่ดีผู้ใช้รถจะต้องสามารถปล่อยพวงมาลัยได้โดยที่รถไม่ เอียงไปด้านในด้านหนึ่ง แต่ควรทดสอบกับถนนทางตรง (โดยทั่วไปแล้วถนนจะเอียงด้านซ้ายเล็กน้อยเพื่อระบายน้ำเวลาฝนตกดังนั้น หากรถที่ทดสอบออกซ้ายบ้างเมื่อปล่อยมือไปได้ระยะหนึ่ง ถือว่าเป็นปกติ) พวงมาลัยรถไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ในขณะที่รถวิ่งตรง เมื่อตั้งศูนย์ได้ค่าถูกต้องแล้วก็จะขับได้อย่างเสถียร แม่นย้ำ พวงมาลัยควบคุมง่าย ไม่กินยาง ไม่เลื่อยตามรอยต่อถนนและเลื่อยเมื่อวิ่งผ่านเส้นแบ่งเลนอีกด้วยครับ

ประโยชน์ของการตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
1. สัมผัสถนนเต็มหน้ายาง+ป้องกันหน้ายางสึกไม่เท่ากัน
เมื่อ หน้าสัมผัสยางรถยนต์เต็มพื้นที่ส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการเกาะถนน และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยลดการสึกของหน้ายางไม่เท่ากัน เช่น กินนอก-กินใน เป็นต้น เพราะจะเห็นว่าในมุม Camber นั้นพยายามทำให้ล้อตั้งฉากกับพื้นถนนให้มากที่สุด (ตามสเปคผู้ผลิตของรถรุ่นนั้นๆ)

2. ลดอาการสั่นเวลาวิ่ง
นอก จากการตั้งศูนย์แล้ว การถ่วงล้อจะช่วยให้เวลาวิ่งรถจะไม่สั่นสะท้าน (ในกรณีระบบช่วงล่างปกติ) แม้จะเคยถ่วงล้อมาแล้ว แต่การใช้งานประจำอาจมีการสึกของหน้ายางที่ไม่เท่ากัน การหลุดของตะกั่วที่ติดถ่วงเอาไว้ ซึ่งส่งผลให้ยางไม่มีความกลม และจะมีจุดที่น้ำหนักมากกว่าจุดอื่นๆ เกิดขึ้น ดังนั้นการถ่วงล้อเป็นประจำ อย่างน้อยทุกๆ 20,000 กิโลเมตร จะช่วยให้การขับขี่รถคุณราบรื่นมากขึ้นครับ
ถ้ารื้อช่วงล่างออกมาก็จำเป็นต้องตั้งศูนย์

3. ปรับให้ศูนย์รถกลับมาเป็นปกติหลังจากซ่อมระบบช่วงล่างหรือโหลดเตี้ย-ยกสูง
รถ ที่ผ่านการแก้ไข ปรับเปลี่ยนระบบช่วงล่างทั้งซ่อมแร็คพวงมาลัย, เปลี่ยนลูกหมากคันชัก-คันส่ง, เปลี่ยนลูกปืนล้อหน้า รวมถึงการเปลี่ยนชุดสปริงโหลดหรือยกสูง ย่อมส่งผลต่อมุมศูนย์ล้อโดยตรง ดังนั้นหลังจากมีการปรับแต่งช่วงล่างแล้วควรตั้งศูนย์ด้วยนะครับ

ถ่วงล้อ
การถ่วงล้อคือ ทดสอบการหมุนของล้อด้วยเครื่องถ่วงดูว่ามีการแกว่งมากน้อยเพียงใด ส่วนมากมักทำเมื่อเปลี่ยนล้อและยางชุดใหม่ โดยล้อและยางมีน้ำหนักของเส้นรอบวงไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเกิดจากการผลิตเนื้อที่อาจมีน้ำหนักไม่เท่ากันหรือล้อแม็กมีจุดศูนย์ถ่วงไม่เท่ากันตลอดเส้นรอบวง ดังนั้นเมื่อรวมกันก็เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่ไม่พอดี จึงเกิดการสั่นเมื่อล้อหมุน ซึ่งการถ่วงล้อก็เป็นการเอาชุดตะกั่วถ่วงที่มีขนาดเล็กๆ ตามน้ำหนักที่เครื่องถ่วงล้อแสดงขึ้นมา เพื่อให้ช่างติดตะกั่วตามจุดต่างๆ ให้มีความบาลานซ์ขึ้น ทำให้ล้อไม่แกว่งขณะหมุนนั่นเองครับ

วิธีการถ่วงล้อ

เครื่องถ่วงล้อมี 2 ชนิดหลักๆ คือ แบบถอดล้อถ่วงด้วยเครื่อง และถ่วงล้อแบบประชิด โดยใช้เครื่องจี้ที่ล้อโดยตรง วิธีประชิดล้อจะค่อนข้างแม่นยำกว่า เพราะจะเป็นการหมุนล้อพร้อมกับแกนล้อ, ลูกปืน, หรือเพลาขับ (กรณีล้อขับเคลื่อน) และราคาก็แตกต่างกันออกไป นอกจากต้องถ่วงล้อทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่แล้ว คุณต้องตรวจเช็คทุกๆ 10,000 กม. ด้วยครับ


รถยนต์ทุกคันจึงจำเป็นต้องตั้งศูนย์ล้อและถ่วงล้อ ไม่ว่ารถที่ตั้งได้เฉพาะ 2 ล้อหน้าหรือ 4 ล้อก็ตาม เพื่อการควบคุมรถและการยืดอายุของชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ความปลอดภัยครับ การตั้งศูนย์ล้อที่ดีนั่นหมายถึงการควบคุมรถได้เสถียรมากขึ้น หรือควบคุมรถได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อต้องเบรกหรือหักหลบอย่างกะทันหันจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ข้อควรระวังในการใช้รถ ที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อควรระวังในการใช้รถ ที่ไม่ควรมองข้าม

กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายกันไปนานพอสมควร วันนี้เรามีบทความดีๆเกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้รถมานำเสนอ เพื่อช่วยให้ท่านเดินทางปลอดภัยตลอดเส้นทาง


1. อย่าลากเกียร์ใดเกียร์หนึ่งระยะยาว
    การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมกับรอบเครื่องและจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ โดยควรเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบเครื่องเฉลี่ยที่ 2500 รอบและไม่เกิน 3000 รอบ ซึ่งการทำเช่นนี้นั้น จะช่วยถนอมอายุการใช้งานของเกียร์ คลัช อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดน้ำมันอีกด้วย

2. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
    การขับรถจนน้ำมันหมดถัง จะทำให้เกิดตะกอนค้างที่เครื่องกรองน้ำมันได้ ส่งผลให้เครื่องกรองน้ำมันเสื่อมสภาพและอายุการใช้งานลดลง

3. ควรปรับพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่ถนัดมือ คล่องตัวและสบายในการขับขี่
    รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยจนอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งที่ถนัดแล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด

4. อย่าให้ไฟส่องสว่างของรถดวงหนึ่งดวงใดขาด
    สัญญาณไฟแสดงให้รถคันอื่นเข้าใจถึงเจตนาการขับขี่ของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป อาจทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนนไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟเลี้ยว หรือไฟเบรค ควรตรวจสอบระบบไฟส่องสว่างอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยทั้งคุณและเพื่อนร่วมทาง
5. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
    การกระพริบไฟหน้าเป็นสัญญาณสูง ต่ำ สูง ต่ำ เป็นการเตือนผู้ขับขี่รายอื่นให้ระวังรถของเราได้ในกรณีที่คาดว่ารถคันอื่นนั่นอาจไม่ได้ยินเสียงแตรจากรถของเรา
6. อย่าปล่อยเกียร์ว่างขณะขับรถลงทางลาด หรือลงเขา
    การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้เกิดความเร็วสะสมสูง เมื่อพบเจอสิ่งกีดขวางหรือเมื่อต้องการชะลอความเร็วอาจทำให้ควบคุมรถได้ยาก และเป็นการเพิ่มภาระการทำงานของเบรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเบรคแตกได้
7. ใกล้ทางแยก ทางร่วม อย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
    เมื่อใกล้ทางแยก ทางร่วม คุณต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้ายในทันที อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
8. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
    จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะแซง ควรชะลอความเร็วเพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว

9. ขับรถขึ้นเขา
    กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นวิธีขับขี่ที่ถูกต้องและยืดอายุการใช้งานของรถคุณอีกด้วย

10. ขับรถลงทางลาด
    การขับรถขึ้นเนินจะเห็นได้ว่าเราควรที่จะใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ กรณีลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำเช่นกัน การใช้เกียร์ต่ำนั้นเพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากความเร็วสะสมและระบบเบรคมีความร้อนสะสมสูงกว่าทางราบปกติ เพื่อป้องกันเบรคแตก

11. จอดรถหันหน้าขึ้นเนิน/ลงเนิน
    การจอดรถประเภทนี้ หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าหากกรณีจำเป็นต้องจอดจริงๆ ให้จอดรถชิดขอบทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ อาจใช้การเข้าเกียร์หนึ่งทิ้งไว้และใช้เบรคมือช่วยให้มั่นคงอีกครั้ง

12. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
    ควรหลีกเลี่ยงการเหยียบเบรครุนแรงบนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งได้ หากเห็นได้ว่าทางข้างหน้าเป็นทางโค้ง ควรชะลอความเร็วและเบรคไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าโค้ง ทำให้ความเร็วขณะเข้าโค้งไม่มาก และสามารถควบคุมรถได้ง่าย และปลอดภัยที่สุด

13. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
    การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ เราไม่ควรตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรใช้การสังเกตดูจากรอบตัวว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน รถจากอีกฝั่งหนึ่งมีแถวยาวหรือไม่ และควรเว้นระยะกับรถคันหน้าเผื่อหากคันหน้ามีการเบรคกะทันหัน คุณจะไม่ไปชนท้ายคันข้างหน้า ซึ่งถ้าหากเกิดอุบัติเหตุชนท้ายขึ้น คุณนั่นเองที่เป็นฝ่ายผิด

14. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
    กรณีรถเสียการทรงตัว อันเนื่องจากสภาพถนนลื่น ขอให้คุณตั้งสติให้มั่น อย่าได้ตกใจให้ยกเท้าออกจากคันเร่งและจับพวงมาลัยให้มั่นคงควบคุมให้รถบนถนน ถึงแม้รถคุณอยู่ในสภาวะลื่นไถลห้ามแตะเบรค หรือเหยียบเบรคโดยเด็ดขาด เพราะนั่นจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก รถของคุณจะหมุนทันที และหากคุณใช้ความเร็วสูงอาจทำให้เกิดการพลิกคว่ำขึ้นได้

15. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
    รถทุกคันมียางอะไหล่ติดตั้งไว้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่เราควรที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นลมยางควรต้องมีความดันลมตามมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินยางรั่วหรือแตกขึ้นมา จะได้นำยางอะไหล่นั้นใช้งานได้ทันที

16. ดินโคลนเจ้าปัญหา
    อย่าปล่อยให้ดินโคลนติดอยู่กับรถเป็นเวลานาน ควรเอาใจใส่ทุกๆ จุดแม้ใต้ท้องรถที่คิดว่าดินโคลนจะไปเกาะติดได้ เพราะดินโคลนเมื่อติดจับอยู่กับสิ่งใดเป็นเวลาจะก่อให้บริเวณนั้นเป็นสนิมได้ ทางที่ดีควรมีการล้าง อัด ฉีด รวมถึงล้างช่วงล่างบ้าง อย่างน้อยๆ เดือนละครั้ง

ไม่มากเกินไปใช่ไหมครับ กับข้อควรระวังในการใช้รถที่เรานำเสนอให้ เพียงใส่ใจในการขับขี่สักนิด สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้มากเลยทีเดียว
ไนโตรเจน ลมยางอัจฉริยะเพื่อยางรถของคุณ

ไนโตรเจน ลมยางอัจฉริยะเพื่อยางรถของคุณ


การเติมลมยางใช้ไนโตรเจน ดี หรือไม่
จากคำถามที่คุณลูกค้าถามพนักงานศูนย์บริการบ่อย ๆ ว่า เติมลมยางไนโตรเจน ดีหรือไม่ ผมเลยเก็บคำถามและตอบข้อสงสัยคุณลูกค้า เพื่อให้มั่นใจและตัดสินให้ถูกว่าจะใช้อย่างไหนดี ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไอ้เจ้า ไนโตรเจน ก่อนว่าความเป็นมามันเป็นอย่างไร

ไนโตรเจน มีสัญลักษณ์ N เป็นอโลหะมีสถานะเป็นแก๊ส มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศของโลกซึ่งมีมากถึง 78 % ของบรรยากาศโลก และยังเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต จะเห็นว่าไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบของบรรยากาศโลกและอากาศที่เราหายใจ ประโยชน์ของไนโตรเจนมีมากมาย แต่ที่กล่าวถึงก็เกี่ยวกับข้อสงสัยของคุณลูกค้าที่ได้ถามมา เรามาดูข้อดีของไนโตรเจนกันก่อน เมื่อเรานำมาเติมเป็นลมยาง




ข้อดีของการเติมไนโตรเจน
1. ไนโตรเจนไม่ทำให้กระทะล้อเป็นสนิท เพราะไนโตรเจนไม่ส่วนประกอบของไอน้ำ หรือ H2O ซึ่งน้ำหรือไอน้ำจะไปทำปฏิกิริยากับกระทะล้อที่เป็นเหล็กจะก่อให้เกิดสนิม
2. แป้งที่เคลือบยางก็จะไม่เป็นก้อน เพราะหากเราเติมลมธรรมดาในลมที่เราเติมเข้าไปจะประกอบด้วยไฮโดรเจน ออกซิเจนและสารอื่น ๆ เมื่อมีการรวมตัวของไฮโดรเจนและออกซิเจน ก็จะเกิดเป็นหยดน้ำเช่นกัน ก็จะทำให้แป้งที่เคลือบยางกลายเป็นก้อน หากใช้ไปนาน ๆ ก้อนแป้งก็จะโตขึ้นและทำให้ความสมดุลของล้อเปลี่ยนไป ถ่วงยางใหม่ก็ถ่วงไม่ลง
3. ช่วยในการลดการระเบิดของลมยาง เพราะก๊าสไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย การขยับตัวจะเคลื่อนที่ช้า โมเลกุลเสียดสีกันน้อย ทำให้เกิดความร้อนสะสมของลมยางน้อย แรงดันลมมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ทำให้มีโอกาสการระเบิดน้อย ( การระเบิดของยางส่วนใหญ่ เกิดจากแรงดันลมที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับโครงสร้างของผ้าใบของยางเสื่อมคุณภาพ ทำให้เกิดระเบิด )
แรงดันในล้อหรือแรงดันลมเพิ่มได้อย่างไร ? เนื่องจาก ออกซิเจนและไฮโดรเจนเมื่อรวมตัวกันเป็นน้ำ ทำให้เมื่อยางร้อนก็จะมีการแยกของอะตอมและจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นทำให้แรงดัน ลมยางไม่แน่นอน ทำให้มีโอกาสที่ยางจะระเบิดได้
4. ไนโตรเจนสามารถทำให้การขับขี่นุ่มนวล และเสียงดังจากยางกระทบกับคลื่นตะเข็บของถนนลดลง ( ถ้ายาง ซีรี่ย์ต่ำจะเห็นผลน้อย )
5. ไม่ต้องตรวจเช็คลมยางบ่อย ๆ เพราะอะตอมไนโตรเจนมีขนาดโตกว่าออกซิเจน ทำให้การซึมผ่านของไนโตรเจนน้อยกว่า

6. ยืดอายุการใช้งานของยาง เพราะหากเติมลมธรรมดา ออกซิเจนจำนวนมากจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีในยาง ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็ว หากเติมไนโตรเจนช่วยให้ยางมีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย ทำให้อุณหภูมิยางน้อย
7. จากการทดสอบในอเมริกา เติมลมไนโตรเจนช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เหตุผล ด้วยอุณหภูมิของล้อที่ลดลง จะช่วยลดแรงเสียดทานในการหมุนของยาง จึงช่วยประหยัดน้ำมัน
8. ขับปลอดภัยขึ้นแน่นอน เพราะยางอุณหภูมิไม่สูง โอกาสจะระเบิดน้อย


ข้อเสียย่อมมีอยู่จริง
1. การเติมลมยางรถยนต์ไนโตรเจนแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก ราคาหลักร้อยจนถึงหลายร้อยบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องเติมลมของแต่ละร้านที่ให้บริการ ยิ่งทันสมัยมากยิ่งราคาแพง
2. ร้านที่ให้บริการยังค่อนข้างหายากมาก และแต่ละร้านอยู่ห่างไกลกัน ทำให้ในบางครั้งต้องใช้เวลาในการเดินทางไปยังร้านต้องมีเวลาเหลือเฟือที เดียวเพื่อนำรถไปเติมลมยางรถยนต์ ซึ่งข้อนี้ต่างจากการเติมลมแบบเดิมที่สามารถหาเติมได้ตามปั๊มน้ำมันทั่วไป อย่างสิ้นเชิง
3. บางครั้งเครื่องเติมลมไนโตรเจนของร้านอาจไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถแยกออกซิเจนออกจากไนโตรเจนได้ทั้งหมด ทำให้เกิดการปะปนเข้าไปข้างในยาง ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่เราต้องเสียค่าบริการเต็มๆ
Mud Clawer R408 ยางออฟโร้ดสัญชาติไทย จาก Deestone

Mud Clawer R408 ยางออฟโร้ดสัญชาติไทย จาก Deestone

Mud Clawer R408 ยางที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ชอบความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพดินโคลน หินขรุขระ ไหล่ยางออกแบบบั้งสลับให้การตะกุยและแรงฉุดกระชากมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการเกาะถนนดีเยี่ยม

รายละเอียดและคุณสมบัติ
1. Aggressive Tread Design
บล็อกลายดอกยางดุดัน ช่วยในการยึดเกาะและประสิทธิภาพการควบคุมที่ดีเยี่ยม ในสภาพสภาวะดินโคลนและหินขรุขระ
ออกแบบให้หน้ายางสัมผัสถนนกว้าง ช่วงประสิทธิภาพในการตะกุย
2. Stepped Tread Blocks
บล็อกดอกยางออกแบบพิเศษเป็นระดับขั้น เพื่อสลัดโคลนช่วยทำความสะอาดในตัว

 
3. Special Shoulder Block Design
ไหล่ยางออกแบบ บั้งสลับ ให้การตะกุยและแรงฉุดกระชาก อย่างดีเยี่ยม
ไหล่ยาง มีช่องว่างเปิด เพิ่มความสามารถในการเกาะถนนและสลัดโคลนทำความสะอาดในตัว
4. Aggressive Sipes & Stone Ejector
ออกแบบให้มี แถบนูนรูปสายฟ้าเพื่อให้ช่วยดีดหินให้หลุดออกจากร่องหน้ายาง
ออกแบบให้มี Sipes ดูลุยดุดัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะและการควบคุมรถในทุกสภาวะ

 
5. Heavy duty construction
ออกแบบโครงสร้าง High - Ply Turn UP โดยชั้นผ้าใบจะทบขึ้นมาสูงเพื่อเสริมความแข็งแรงให้โครงยางสามารถรับแรงกระแทกได้ดี
6. Special Formular Tread Compound
สูตรยางพิเศษ สามารถต้านทานการฉีกขาด และ ช้ำจากการกระแทก ได้อย่างดี

ยางออฟโร้ด 4x4
33x12.5R15 31x10.5R15 30x9.50R15 285/75R16 265/75R16 245/75R16 267/70R17 35x12.5R20 33x10.5-16 36x12.5-16 

facebook fanpage

latest tweets