วิธีการวัดขนาดกะทะล้อ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องการเปลี่ยนกะทะล้อรถบรรทุก

วิธีการวัดขนาดกะทะล้อ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องการเปลี่ยนกะทะล้อรถบรรทุก

หากคุณกำลังคิดจะเปลี่ยนกะทะล้อให้กับรถบรรทุก เนื่องจากกะทะล้อเดิมชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ เก่าเกินใช้งาน สำหรับท่านที่ใช้งานรถมานาน หาสมุดคู่มือไม่เจอ หรือทำหาย เกิดปัญหาไม่ทราบขนาดกะทะล้อของรถบรรทุกที่ใช้งานอยู่ วันนี้เรามีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวัดขนาดกะทะล้อรถของท่านในจุดต่างๆ เพื่อใช้ในการเลือกเปลี่ยนกะทะล้อลูกใหม่

โดยทั่วไปแล้วกะทะล้อรถบรรทุกจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่ต้องคำนึงถึงดังนี้
1. ขนาดกะทะล้อ วัดได้จากเส้นผ่าศูนย์กลางจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
2. จำนวนรูน๊อตของกะทะล้อรถบรรทุก ซึ่งมีตั้งแต่ 4-6 รูน๊อต 8 รูน๊อต และ 10 รูน๊อต
3. ประเภทรูน๊อต กะทะล้อรถบรรทุกทั่วไป จะมีขนาดรูน๊อต 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ สำหรับน๊อตยึด 26ISO , 27SR18 , 27SR19 , 32SR22 เป็นต้น

4. แกนรูด้านใน ดุมล้อรถบรรทุกแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น แต่ละขนาด มีขนาดดุมล้อแตกต่างกันออกไป เราจึงใช้กะทะล้อที่มีขนาดแกนรูด้านในให้ตรงกับดุมล้อรถบรรทุกของเรา

5. แกนรูด้านนอก หรือระยะ P.C.D ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป
6. หน้าแปลนกะทะล้อ
7. เตเปอร์ ซึ่งกะทะล้อรถบรรทุกมีทั้งแบบที่ไม่มีเตเปอร์ และแบบมีเตเปอร์ จะกล่าวในลำดับต่อไป

* ขนาดของรูน๊อตและแกนรูด้านใน ดูวิธีการวัดได้จากตัวอย่างการวัดระยะ P.C.D สำหรับล้อ5 รูน๊อต และ 10 รูน๊อต

(P.C.D) ระยะ พี.ซี.ดี
P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็กซ์ โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย
แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูน๊อต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง
รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5-6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ  หลายท่านสงสัยว่าทำไมรูน๊อตที่ใช้ยึดล้อแม็กเข้ากับดุมล้อ ถึงได้มีค่า PCD แตกต่างกันออกไป ในอดีตผู้ผลิตรถยนต์ หลายค่ายทั้งเอเชีย, ยุโรป และอเมริกา ได้ทำการคิดค้นและออกแบบรถของตัวเองแตกต่างกันออกไป ตามแนวคิดของแต่ละค่าย แต่ละยี่ห้อ ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตใช้หน่วยวัดเป็นนิ้ว แต่ต่อมาในบางประเทศที่ใช้มาตรฐานระบบเมตริกเป็นหลัก จึงได้ออกแบบขนาดกะทะล้อที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรขึ้นมา จึงมีการเรียกแตกต่างกันไป แต่จริงแล้วค่าของ PCD มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นเอง

การวัดระยะ PCD ด้วยตนเอง หากเราต้องการทราบว่าล้อแม็กของเรานั้นมีระยะ PCD เท่าไร?
เราสามารถวัดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้


สำหรับล้อ 4 รูน๊อต และ 8 รูน๊อต
การวัดสามารถวัดโดยวัดที่หน้าแปลนของดุมล้อด้านหลัง โดยทาบไม้บรรทัดจากจุด (A) ไปถึงจุด (B) ดูระยะว่ามีค่าเท่าไหร่? เช่น อ่านค่าได้เท่ากับ 100 มม. นั่นก็คือระยะ PCD ของ ล้อแม็กวงนั้นนั่นเอง



สำหรับล้อ 5 รูน๊อต และ 10 รูน๊อต

การวัดสำหรับล้อแม็กที่มี 5 รู หรือ 10 รูนั้น ต้องมีการคำนวนเล็กน้อย จากรูปเป็นตัวอย่างแสดงตำแหน่งจุดต่างๆที่เราต้องทำการวัดค่า

(A) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูดุมล้อ Center Bore
(B) คือระยะระจากขอบรู ดุมล้อ กับขอบรูยึดน๊อต
(C) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูยึดน๊อต

ได้สูตรการคิดค่าระยะ PCD = (A หาร 2)+B+(C หาร 2)

ตัวอย่าง
A = 110, B = 58.5 และ C = 13
( 55 ) + (58.5) + ( 6.5 )
รวมแล้ว = 120 ดังนั้นตัวเลขที่ได้ก็คือ ค่า PCD นั่นเอง

* หรืออาจใช้สูตร A+(2B)+C แทนก็ได้

สำหรับล้อ 6 รูน๊อต
การวัดสำหรับล้อแม็ก 6 รู จะคล้ายกับ 4 รู โดยวัดในแนวเส้นตรงจากขอบด้านในของรูยึดน๊อต ตรงมายังขอบด้านนอกของรูยึดน๊อตฝังตรงข้าม ผ่านรูดุมล้อ ทำการวัดจากจุด (A) มายังจุด (B) อ่านค่าได้เท่าไร ก็คือ ค่า PCD นั้นเอง

รู PCD
- ล้อใหม่ที่เราจะเลือกใช้ ต้องตรงกับสเปคของรถนั้นๆ ไม่ควรดัดแปลงค่าใดๆ ทั้งสิ้น เพียงเพราะความชอบส่วนตัว หรือความสวยงามของล้อแม็ก

รูกลางของดุมล้อ (Hub Diameter)
- รูกลางของล้อแม็กที่เราจะนำมาใช้ต้องพอดีกันไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

การรับน้ำหนัก
- เราต้องเลือกล้อแม็กซึ่งมีความสอดคล้องเหมาะสมกับการใช้งานหรือการบรรทุกน้ำหนัก

การยึดล้อกับดุมล้อ
- ล้อที่เราจะเลือกใช้ รูที่ใช้ยึดเข้ากับตัวหน้าแปลนดุมล้อ ต้องมีสเปคตรงกัน ในแต่ละประเภทที่ได้ถูกออกแบบไว้

ความสัมพันธ์ต่อชิ้นส่วนอื่น
- การเลือกล้อแม็กต้องไม่ไปกระทบหรือมีระยะห่างที่จะไปกระทบกับชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น โช๊ค , ขอบซุ้มล้อ , ปีกนก เป็นต้น


น๊อต และ สกรู (Nuts/Bolt)
ในปัจจุบันผู้ใช้รถส่วนใหญ่ มักไม่ทราบว่ารถของเราเองนั้น ควรใส่น๊อตล้อประเภทไหนอยู่? ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ความถูกต้อง เหมาะสม ของอุปกรณ์ ที่จะทำให้รถที่เราวิ่งอยู่มีความปลอดภัยมากขึ้น
บางครั้งตัวน๊อตเดิมก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้กับล้อใหม่นั้นได้ ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ความแข็งแรงในการยึดติดระหว่างล้อกับดุมของรถลดลง ,
ซึ่งก่อให้เกิดอันตราย หรือเกิดความเสียหายต่อรถของเราได้

ประเภทของ น๊อตล้อ Lug Nuts
1) ชนิด เฉียง (Taper)
ลักษณะของน๊อต (Nuts) หรือ Bolts ถูกออกแบบมากให้มีมุมเฉียงที่ 60 องศา ซึ่งหากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะเฉียง เราก็ต้องใช้น็อตล้อให้เป็นแบบเฉียงเช่นเดียวกัน

2) ชนิด กลม (Radius,Ball)
ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Bolts ซึ่งถูกออกแบบมาให้จุดนั่ง มีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งหากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะกลม เราก็ต้องใช้น็อตล้อให้เป็นแบบทรงกลมเช่นเดียวกัน

3) ชนิดราบ (Flat)
ชนิดนี้ ทั้งน๊อต (Nuts) หรือ (Bolts) จะถูกออกแบบมาให้จุดนั่ง มีลักษณะแบบราบ และอาจมีวงแหวนประกอบติดอยู่ด้วย เช่นเดียวกันหากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะแบบราบ เราก็ต้องใช้น็อตล้อให้เป็นแบนราบเช่นเดียวกัน


 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.asnbroker.co.th
ส่วนประกอบและข้อดี ข้อเสียของกะทะล้อแต่ละชนิด

ส่วนประกอบและข้อดี ข้อเสียของกะทะล้อแต่ละชนิด

กะทะล้อ (Rims)
กะทะล้อเป็นส่วนที่ยึดยางรถยนต์กับดุมล้อ กะทะล้อประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ ขอบกะทะล้อ และจานกะทะล้อ โดยขอบกะทะล้อ เป็นส่วนที่ยึดยางรถยนต์กับจานกะทะล้อและยังทำหน้าที่ในการรักษารูปทรงของยางรถยนต์ ส่วนจานกะทะล้อทำหน้าที่ในการยึดของกะทะล้อให้ติดกับดุมล้อ จานกะทะล้อจะมีรูสำหรับยึดน็อตกับดุมล้อเพื่อความสะดวกในการถอด-ใส่ล้อรถยนต์กับดุมล้อของรถยนต์

กะทะล้อแบ่งตามรูปแบบการสร้าง แบ่งได้ 3 แบบ คือ

1. แบบกะทะล้อเหล็กกล้าอัดขึ้นรูป

2. แบบกะทะล้อซี่ลวด

3. กะทะล้อโลหะผสม หรือล้อแม็ก



  แสดงส่วนประกอบของกะทะล้อแบบเหล็กกล้าอัดขึ้นรูป

กะทะล้อแบบเหล็กกล้าอัดขึ้นรูป 
เป็นกะทะล้อที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีความแข็งแรงและสามารถต้านทานต่อการเกิดอุบัติเหตุที่มีแรงกระทำต่อล้อได้เป็นอย่างดี อีกทั้งกะทะล้อแบบนี้สามารถผลิตได้ง่ายคราวละมากๆ โครงสร้างของกะทะล้อชนิดนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ขอบกะทะล้อ และจานกะทะล้อ โดยขอบกะทะล้อ จะมีลักษณะต่ำตรงกลาง หรือเว้าตรงกลาง วัตถุประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการถอด-ใส่ยางรถยนต์ และด้านข้างของขอบกะทะล้อจะมีลักษณะเป็นสันนูนยกขึ้น เพื่อป้องกันการเลื่อนไถล หรือป้องกันการหลุดของยาง เมื่อยางมีลมอ่อน และเป็นการช่วยป้องกันการรั่วซึมของลม ส่วนจานกะทะล้อหรือสไปเดอร์ ตรงกลางของจานกะทะล้อจะมีรู เพื่อใส่กับดุมล้อ รอบๆ รูใส่ดุมล้อจะมีรูไว้สำหรับร้อยน็อตยึดระหว่างกะทะล้อกับดุมล้อ โดยทั่วไปรูเจาะร้อยน็อตจะมีตั้งแต่ 4-6 รูแล้วแต่ชนิดของดุม ขอบกะทะล้อ และจานล้อจะใช้หมุดหรือวิธีการเชื่อมติด เพื่อยึดทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน กะทะล้อที่ดี จะต้องไม่เบี้ยวหรือเแกว่งเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวล้อขณะที่รถแล่น


 ลักษณะ รูปร่าง และส่วนประกอบของกะทะล้อแบบซี่

กะทะล้อซี่ลวด (Wire Spokes Wheel) 
กะทะล้อแบบนี้นิยมใช้กับรถแข่ง รถสปอร์ต หรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกะทะล้อที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงสูงมาก สามารถถอดเปลี่ยนล้อได้อย่างรวดเร็ว มีเกลียวล็อกล้ออยู่ตรงกลางอันเดียว รูปแบบของล้อแบบซี่ กะทะล้อแบบซี่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของขอบล้อ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขอบกะทะล้อของกะทะล้อแบบเหล็กกล้าอัดขึ้นรูป ส่วนที่สอง คือ ซี่ลวด ซึ่งใช้แทนจานกะทะล้อในล้อแบบเหล็กกล้า ซี่ลวดทำด้วยเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูงใช้วิธีการยึดแบบไขว้ไปมา โดยทั่วไปซี่ลวดจะรับแรงดึงได้มากกว่าแรงกด ความแข็งแรงของกะทะล้อแบบซี่ลวด ขึ้นอยู่กับขอบกะทะล้อ และการร้อยซี่ลวดระหว่างปลอกสวมดุมล้อ และขอบกะทะล้อ


แสดงรูปร่าง และส่วนประกอบของกะทะล้อแบบแม็ก หรือแบบโลหะผสมเบา

กะทะล้อโลหะเบาผสม (Cast Light alloy Wheel) หรือล้อแม็ก (Mag) 
กะทะล้อแบบนี้ผลิตโดยการหล่อ โดยใช้โลหะเบาผสมกัน คืออะลูมิเนียม กับแม็กนีเซียม ซึ่งทำให้กะทะล้อแบบนี้ มีน้ำหนักเบา และแข็งแรงกว่ากะทะล้อแบบเหล็กกล้า ปัจจุบันมีความนิยมใช้ล้อแม็กกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมากขึ้น

เนื่องจากกะทะล้อแบบนี้มีข้อดีกว่ากะทะล้อแบบอื่นๆ ดังนี้

1. มีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับกะทะล้อแบบเหล็กกล้า เนื่องจากการหล่อผสมรวมของ อะลูมิเนียม กับแม็กนีเซียม
2. มีความแข็งแรง จากที่กล่าวมาแล้ว โลหะผสมที่หล่อรวมกันทำให้ล้อมีน้ำหนักเบา ส่งผลให้ล้อแบบนี้มีหน้าตัดที่หนากว่ากะทะล้อแบบเหล็กกล้า จึงทำให้กะทะล้อแบบแม็กแข็งแรงกว่าล้อแบบเหล็กกล้าอัดขึ้นรูป
3. ล้อแม็กสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเกาะถนน อันเนื่องจากล้อแม็กมีพื้นที่ของล้อมาก และหน้ากงล้อกว้าง ทำให้สามารถใส่ยางหน้ากว้างได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสกับถนนมากขึ้น ส่งผลทำให้รถช่วยเกาะถนนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่รถเข้าโค้ง
4. การระบายความร้อนของล้อได้ดี เมื่อรถมีการเบรก หรือการเลี้ยวโค้งทำให้เกิดความร้อนที่ล้อรถยนต์ โลหะผสมของล้อแม็กมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากเป็นตัวนำที่ดี ทำให้ช่วยลดความร้อนได้อย่างรวดเร็วกว่ากะทะล้อแบบเหล็กกล้า


นอกจากข้อดีของล้อแม็กแล้ว ล้อแบบนี้ยังมีข้อเสียกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. ล้อแม็กมักจะทำปฏิกิริยากับละอองของเกลือ
2. กะทะล้อแม็ก มักเกิดการสึกกร่อนเกี่ยวกับการแยกตัวทางไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการสัมผัสของเหล็กกล้ากับโลหะเบา แนวทางการแก้ไขโดยการป้องกันการสัมผัสของวัตถุทั้งสองชิ้น โดยการใช้จาระบีทาที่สตัสที่ร้อยยึดกะทะล้อกับดุมล้อ ส่วนในการถ่วงล้อควรใช้กาวติดตัวถ่วงเพื่อป้องกันการสัมผัสกัน
3. กะทะล้อแม็ก ถึงแม้จะมีน้ำหนักเบาและแข็งแรง แต่เปราะ ดังนั้นเมื่อเกิดการกระแทกหรือการประทะอย่างแรงทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.thailandindustry.com
เทคนิคการตรวจเช็คและบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

เทคนิคการตรวจเช็คและบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 
อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ของรถโฟล์คลิฟท์
1. เสารถโฟล์คลิฟท์ (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนสำหรับให้ส่วนของงาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถโฟล์คลิฟท์จะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูง 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือใช้เสา 3 ท่อน (Full Free Mast) เสา 3 ท่อน คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัดได้

2. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐานรถโฟล์คลิฟท์จะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่ 3 ชุด ดังนี้
    2.1)  กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มี 2 กระบอก
    2.2)  กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มี 2 กระบอก
    2.3)  กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถโฟล์คลิฟท์ ในส่วนนี้จะมีกระบอกเดียว

3. งารถโฟล์คลิฟท์ (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของต่างๆ และงายังเป็นอุปกรณ์ที่ "อันตราย" ที่สุด งานของรถโฟล์คลิฟท์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งของที่ต้องการยก

4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
    4.1)  รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
    4.2)  ขับเคลื่อน
    4.3)  เบรค

5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว

ทำไมเราต้องตรวจสภาพรถโฟล์คลิฟท์ก่อนและหลังใช้งาน
1. เพื่อให้รถมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
2. เพื่อความปลอดภัยของคนขับและผู้ร่วมงาน
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
   
การสังเกตุการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์
    การสังเกตุการทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ หมายถึง ในขณะที่ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ระหว่างวัน จะต้องคอยสังเกตการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของรถด้วยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น
    1.) การทำงานของเบรค เมื่อใช้เบรคมีเสียงดัง เบรคไม่อยู่หรือไม่
    2.) การทำงานของเครื่องยนต์ เมื่อเร่งเครื่องแล้วพบเจออาการสะดุด หรือมีเสียงผิดปกติหรือไม่
    3.) สังเกตุเกจ์วัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่เสมอ ถ้าพบความผิดปกติเกิดขึ้นต้องรีบดำเนินการแก้ไขในทันที
    4.) สังเกตุการทำงานของระบบไฮดรอลิค ในขณะยกต้องเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น หรือเวลาเลี้ยวต้องใช้แรงมากขึ้นหรือไม่
  
การจ่ายไฟของแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ ที่ใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ทั่วไปจะเป็นแบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว+กรด (Lead acid storage batterry)

ข้อดีของการใช้แบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว+กรด
    1.) สามารถเก็บพลังงานและนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆได้
    2.) เป็นกระแสไฟฟ้า DC ซึ่งเป็นผลดีต่อ Speed controller ในการขับเคลื่อนมอเตอร์
    3.) มีความคงทนและอายุการใช้งานยาวนาน ทนต่อการสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้ดี
    4.) ไม่มีเสียงรบกวนขณะใช้งาน ซึ่งเป็นการป้องกันมลภาวะทางเสียงที่ก่อความรำคาญแก่ผู้ใช้
    5.) ง่ายต่อการดูแลรักษา และการนำไปใช้งาน โดยผู้ใช้งานไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทางมากนัก และการดูแลเพียงแต่เตรียมน้ำกลั่นไว้เติมเมื่อระดับน้ำกรดต่ำกว่าขีดระดับมาตรฐาน


การบำรุงรักษาแบตเตอรี่และข้อควรระวังในการชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์
    1.) อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จ ดังนั้นควรชาร์จแบตเตอรี่ต่อเมื่อกระแสไฟใกล้จะหมดเท่านั้น และในการชาร์จแต่ละครั้งต้องชาร์จต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกัน ไม่ควรชาร์จแบบถอดเข้าถอดออก
    2.) บริเวณที่ใช้เป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเป็นสถานที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี เนื่องจากในขณะที่ชาร์จ น้ำกลั่นจะระเหยออกมาทำให้เกิดมลภาระทางอากาศได้หากอยู่ในที่อับ
    3.) ก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่ ต้องเปิดฝาจุกน้ำกลั่นทุกครั้ง เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และตรวจสอบสภาพปลั๊กไฟว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด หรือแตกร้าว หรือถ้าชำรุดต้องดำเนินการแก้ไขก่อนทำการชาร์จ
    4.) จะต้องเสียบปลั๊กของแบตเตอรี่กับตู้ชาร์จให้แน่น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์คหรือช๊อตของกระแสไฟ
    5.) จะต้องตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ สายไฟ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของแบตเตอรี่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบว่าขั้วแบตเตอรี่ และผิวของแบตเตอรี่สกปรก มีขี้เกลือให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และเช็ดให้แห้ง
    6.) ควรให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจเช็คค่าถ่วงนำเพาะ และแรงดันของเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
 

วิธีชาร์จแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ มี 2 วิธี คือ
    1.) NORMAL CHARGER คือ การชาร์จแบตเตอรี่ตามปกติ โดยเราจะใช้การชาร์จแบบนี้เป็นประจำวัน โดยจะชาร์จหลังเลิกใช้รถในแต่ละวัน
    2.) EQUAL CHARGER คือ การชาร์จแบตเตอรี่เพื่อปรับความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดในแต่ละเซลล์ให้ใกล้เคียงกันทั้งนี้เนื่องจากเมื่อเราใช้งานนานหลายวัน ค่าถ่วงจำเพาะของน้ำกรดจะไม่เท่ากัน ฉะนั้นจึงต้องทำ EQUAL CHARGER 1 ครั้ง และการชาร์จแบบนี้ กระแสไฟจะเข้าไปชาร์จอยู่นานกว่าแบบ NORMAL และควรทำ EQUAL ทุกๆ 2 สัปดาห์ ห้ามใช้ EQUAL CHARGER เป็นประจำทุกวัน เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ร้อนจัดและเสื่อมเร็ว
    
วิธีการชาร์จแบตเตอรี่ประจำวัน
    1.) ปิดสวิทซ์กุญแจของรถโฟล์คลิฟท์มาที่ตำแหน่ง OFF ทุกครั้งก่อนทำการชาร์จ
    2.) ปลดปลั๊กแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ และนำปลั๊กของแบตเตอรี่มาเสียบต่อกับปลั๊กของตู้ชาร์จ โดยจะต้องเสียบให้แน่น และเปิดฝาครอบเซลล์ทุกเซลล์ในขณะทำการชาร์จ
    3.) จ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องชาร์จเจอร์
    4.) กดปุ่ม NORMAL เพื่อเริ่มต้นชาร์จ โดยชาร์จเจอร์จะทำการชาร์จไปเรื่อยๆ จนแบตเตอรี่เต็ม (VOLTAGE แต่ละเซลล์ประมาณ 24 โวลต์) หลังจากกระแสไฟจะสว่างขึ้น และการชาร์จก็จะทำงานต่อไปประมาณ 4 ชั่วโมง เมื่อครบ 4 ชั่วโมง ไฟบนตำแหน่ง UP ก็จะสว่างขึ้น แสดงว่าการชาร์จเสร็จสมบูรณ์ ตู้ชาร์จก็จะหยุดการชาร์จโดยอัตโนมัติ เปิดตู้ชาร์จและนำแบตเตอรี่ไปใช้งานได้


เทคนิคการบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์ประจำวัน    
ก่อนติดเครื่องยนต์
    1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก
    2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
    3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง         
    4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
    5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ         
    6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
    7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
    8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
    9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
    10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
    11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
    12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
    13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
    14. ตรวจสภาพยางรถโฟล์คลิฟท์
    15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
    16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่างๆ

หลังติดเครื่องยนต์
    1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนตืหรือไม่
    2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
    3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
    4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่

หลังใช้งานขณะที่เครื่องยนต์ยังติดอยู่
    1. จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
    2. ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
    3. ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
    4. หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
    5. ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
    6. ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
    7. หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์


หลังดับเครื่องยนต์
    1. เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
    2. ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ

ขนาดยางรถโฟล์คลิฟท์
3.50-5, 4.00-8, 2.00-8, 5.00-8, 15x4.50-8, 16x6-8, 18x7-8, 16x5-9, 6.00-9, 21x8-9, 140/55-9, 200/50-10, 6.50-10, 23x9-10, 4.50-12, 7.00-12, 23x10-12, 27x10-12, 8.25-12, 2.50-15, 3.00-15, 5.50-15, 7.00-15, 355/65-15, 7.50-15, 8.15-15 (28x9-15), 8.25-15, 28x12.5-15, 32x12.1-15, 300-15, 30x10-18, 30x10-20, 7.50-16, 9.00-16, 8.25-20, 9.00-20, 10.00-20, 12.00-20, 12.00-24, 13.00-24, 14.00-24, 14.00-25, 16.00-25, 18.00-25, 17.5-25, 20.5-25, 23.5-25, 26.5-25, 29.5-25, 15x4?-8
16x5-10.5, 16x6-10.5, 15.5-11.25, 16.25-11.25, 16.25x6-11.25, 18x6-12.15, 18x7-12.125, 21x7-15, 21x8-15, 22x2-16, 22x14-16, 28x10-22, 40x16-30, 250x105-170, 9.5-5, 10.5x6-5, 10x5-6.1875, 10x3-6.25, 10x4-6.25, 10x6-6.25, 10x7-6.25, 11x4-6.5, 12x3.5-8, 12x4-8, 12x5-8, 13.3.5-8, 13x4.5-8, 13x5-8, 13.5x4.5-8 14x4.5-8, 16.25x5-11.25, 16.25x6-11.25, 16.25x7-11.25, 16x4-12.125, 16x5-12.125, 17x5-12.125, 17x6-12.125, 17x5-12.125, 17x6-12.125, 18x5-12.125, 18x6-12.125, 18x7-12.125, 18x8-12.125, 18x9-12.125,20x8-15, 20x9-15, 8x2/1.20, 10x2/1.20, 10x3/1.20, 28x12.5-15/9.75, 30x10-20/7.5, 31x10-20/7.5, 33x12-20/7.5, 33x10.75-20/7.5

ลิ้งค์สำหรับยางรถโฟล์คลิฟท์ขนาดต่างๆ
15x41/2-8 16x6-8 18x7-8 21x8-9 23x10-12 23x9-10 250-15 27x10-12 28x9-15 300-15 4.50-12 5.00-12 5.00-8 5.50-15 5.70-12 6.00-15 6.00-9 6.50-10 6.50-16 6.90/6.00-9 7.00-12 7.00-15 7.00-16 7.00-9 7.50-10 7.50-15 7.50-16 8.15-15 8.25-12 8.25-15 8.25-16 9.00-16 

บทความเกี่ยวกับรถยนต์และยางรถยนต์ , สินค้ายางประเภทอื่นๆ , ติดต่อเรา

ขอบคุณรูปภาพประกอบบทความสวยๆจาก forklifttrucks.biz , forklifttrack.com , forkliftsservicesbc.com , bellforklift.com , pepsonline.com , skillssprout.com
ว่าด้วยเรื่อง...การตรวจสภาพรถ ที่ควรรู้!!!

ว่าด้วยเรื่อง...การตรวจสภาพรถ ที่ควรรู้!!!

 

กรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสภาพรถ ทั้งรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หรือนำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถ ผู้โดยสารไปกับรถคันนั้น ผู้ขับขี่รถคันอื่นๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ

1. รถที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี

    1.1 รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน

    1.2 รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถดังนี้

         -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
         -รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
         -รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
         -รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป

2. สถานที่ตรวจสภาพ

    2.1 รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท เจ้าของรถจะนำไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้

    2.2 รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

ยกเว้น
1) รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้

2) รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ก็ได้

3) รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ (รายละเอียดตามข้อ 7) ให้นำรถไปตรวจสภาพ ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก

3. ระยะเวลาที่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ

การตรวจสภาพรถ เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี

4. อัตราค่าตรวจสภาพ

    -รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
    -รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
    -รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท

ใน การไปติดต่อกับสถานตรวจสภาพรถให้เจ้าของรถนำรถและสมุดคู่มือทะเบียนรถไปแสดง หากผลการตรวจสภาพปรากฏว่า รถอยู่ในเกณฑ์ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถจะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด รถอยู่ในเกณฑ์ไม่ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถจะแจ้งข้อบกพร่องที่เป็นเหตุให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้ เจ้าของทราบ เพื่อจะได้นำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องแล้วนำมาตรวจใหม่ หากแก้ไขแล้วนำไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจใหม่ ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปตรวจที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งอื่นจะเสียค่าบริการเต็มอัตรา

สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...http://www.tiretruckintertrade.com/knowledge_view.php?id_knowledge=336

และอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆได้ที่...บทความน่ารู้เกี่ยวกับยางรถยนต์

 ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมขนส่งทางบก www.dlt.go.th
สัญลักษณ์แสดงดัชนีการรับน้ำหนักของยางรถยนต์ และยางรถบรรทุก LI/SS(Load Index/SpeedSymbol)

สัญลักษณ์แสดงดัชนีการรับน้ำหนักของยางรถยนต์ และยางรถบรรทุก LI/SS(Load Index/SpeedSymbol)

สัญลักษณ์แสดงดัชนีการรับน้ำหนัก(ยางรถบรรทุก)

สัญลักษณ์แสดงดัชนีการรับน้ำหนัก(ยางรถยนต์)



























ดัชนีการรับน้ำหนัก (Li) คือ ตัวเลขที่ใช้แทนค่าความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของยาง 1 เส้น (kg) ที่ลมยางตามมาตรฐาน และ อยู่ในขีดจำกัดความเร็วตามที่บริษัทผู้ผลิตยางกำหนดไว้

Li. Kg.
Li. Kg.
Li. Kg.
Li. Kg.
0 45
1 46.2
2 47.5
3 48.7
4 50
5 51.5
6 53
7 54.5
8 56
9 58
10 60
11 61.5
12 63
13 65
14 67
15 69
16 71
17 73
18 75
19 77.5
20 80
21 82.5
22 85
23 87.5
24 90
25 92.5
26 95
27 97.5
28 100
29 103
30 106
31 109
32 112
33 115
34 118
35 121
36 125
37 128
38 132
39 136
40 140
41 145
42 150
43 155
44 160
45 165
46 170
47 175
48 180
49 185
50 190
51 195
52 200
53 206
54 202
55 218
56 224
57 230
58 236
59 243
60 250
61 257
62 265
63 272
64 280
65 290
66 300
67 307
68 315
69 325
70 335
71 345
72 355
73 365
74 375
75 387
76 400
77 412
78 425
79 437
80 450
81 462
82 475
83 487
84 500
85 515
86 530
87 545
88 560
89 580
90 600
91 615
92 630
93 650
94 670
95 690
96 710
97 730
98 750
99 775
100 800
101 825
102 850
103 875
104 900
105 925
106 950
107 975
108 1,000
109 1,030
110 1,060
111 1,090
112 1,120
113 1,150
114 1,180
115 1,215
116 1,250
117 1,285
118 1,320
119 1,360
120 1,400
121 1,450
122 1,500
123 1,550
124 1,600
125 1,650
126 1,700
127 1,750
128 1,800
129 1,850
130 1,900
131 1,950
132 2,000
133 2,060
134 2,120
135 2,180
136 2,240
137 2,300
138 2,360
139 2,430
140 2,500
141 2,575
142 2,650
143 2,725
144 2,800
145 2,900
146 3,000
147 3,075
148 3,150
149 3,250
150 3,350
151 3,450
152 3,550
153 3,650
154 3,750
155 3,875
156 4,000
157 4,125
158 4,250
159 4,375
160 4,500
161 4,625
162 4,750
163 4,875
164 5,000
165 5,150
166 5,300
167 5,450
168 5,600
169 5,800
170 6,000
171 6,150
172 6,300
173 6,500
174 6,700
175 6,900
176 7,100
177 7,300
178 7,500
179 7,750
180 8,000
181 8,250
182 8,500
183 8,750
184 9,000
185 9,250
186 9,500
187 9,750
188 10,000
189 10,300
190 10,600
191 10,900
192 11,200
193 11,500
194 11,800
195 12,150
196 12,500
197 12,850
198 13,200
199 13,600
200 14,000
201 14,500
202 15,000
203 15,500
204 16,000
205 16,500
206 17,000
207 17,500
208 18,000
209 18,500
140 2,500
141 2,575
142 2,650
143 2,725
144 2,800
145 2,900
146 3,000
147 3,075
148 3,150
149 3,250
150 3,350
151 3,450
152 3,550
153 3,650
154 3,750
155 3,875
156 4,000
157 4,125
158 4,250
159 4,375
160 4,500
161 4,625
162 4,750
163 4,875
164 5,000
165 5,150
166 5,300
167 5,450
168 5,600
169 5,800
170 6,000
171 6,150
172 6,300
173 6,500
174 6,700
175 6,900
176 7,100
177 7,300
178 7,500
179 7,750
180 8,000
181 8,250
182 8,500
183 8,750
184 9,000
185 9,250
186 9,500
187 9,750
188 10,000
189 10,300
190 10,600
191 10,900
192 11,200
193 11,500
194 11,800
195 12,150
196 12,500
197 12,850
198 13,200
199 13,600
200 14,000
201 14,500
202 15,000
203 15,500
204 16,000
205 16,500
206 17,000
207 17,500
208 18,000
209 18,500


ขนาดยางรถยนต์
145/70R12, 155/70R12, 155R12C, 155/70R13, 155/80R13, 165R13, 165R13C, 165/65R13, 165/70R13, 175/70R13, 175/80R13, 185/70R13, 185/60R13, 195/50R13, 175/65R14, 175/70R14, 185/60R14, 185/65R14, 185/70R14, 185R14C, 195R14, 195R14C, 195/70R14, 205/70R14, 205/75R14, 205R14, 205R14C, 215/75R14, 215R14, 215R14C, 185/50R15, 185/55R15, 185/60R15, 185/65R15, 195/50R15, 195/55R15, 195/60R15, 195/65R15, 195/70R15, 195R15, 195R15C, 205/60R15, 205/65R15, 205/55R15, 205/70R15, 205/70R15C, 205/75R15, 205R15, 205R15C, 215/60R15, 215/65R15, 215/70R15, 215/70R15C, 215R15, 215R15C, 225/60R15, 225/70R15, 225/70R15C, 225/75R15, 235/75R15, 30x9.5R15, 31x10.5R15, 33x12.5R15, 33x10.5R15, 185/55R16, 195/50R16, 195/55R16, 195/60R16, 205/45ZR16, 205/50ZR16, 205/50R16, 205/55R16, 205/60R16, 205/65R16, 205/65R16C, 205/70R16, 205/75R16C, 205R16, 215/55R16, 215/60R16, 215/65R16C, 215/70R16, 215/75R16, 215/75R16C, 215/85R16, 215R16, 225/55R16, 225/60R16, 225/65R16, 225/70R16, 225/75R16, 225/75R16C, 235/60R16, 235/65R16C, 235/70R16, 235/80R16, 235/85R16, 245/70R16, 245/75R16, 255/70R16, 265/65R16, 265/70R16, 265/75R16, 285/75R16, 205/40R17, 205/45R17, 205/45ZR17, 215/45ZR17, 215/50ZR17, 215/55ZR17, 215/45R17, 215/50R17, 215/55R17, 225/45ZR17, 225/50ZR17, 225/55ZR17, 225/45R17, 225/50R17, 225/55R17, 225/65R17, 235/45R17, 235/65R17, 235/70R17, 245/45R17, 245/65R17, 245/70R17, 265/65R17, 265/70R17, 225/40R18, 225/45R18, 245/45R18, 225/40ZR18, 225/45ZR18, 235/40ZR18, 235/55R18, 255/55R18, 265/60R18, 235/35ZR19, 265/30ZR19, 245/40R19, 275/35R19, 265/50R20

จำหน่ายยางรถยนต์ ยางรถเก๋ง ยางรถกระบะ ยางออฟโรด ยางรถ SUV ทุกยี่ห้อ
ยางกู๊ดเยียร์ ยางบริดจสโตน ยางดีสโตน ยางวีรับเบอร์ ยางโตโย ยางแม๊กซิส ยางดันลอป ยางฮานคุ๊ก ยางโยโกฮาม่า ยางไฟร์สโตน ยางมิชิลิน ยางคัมโฮ ยางนิโต๊ะ ยางบีเอฟกู๊ดริช ลิ้งค์สำหรับขนาดยางรถยนต์ ยางรถเก๋ง ยางรถกระบะ ยางออฟโรด ยางรถ SUV ยางรถกระป๋อ ยางเรเดียล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bridgestone.co.th

facebook fanpage

latest tweets