ยางดอกเทิร์ฟ (Turf Tire) ยางรถภาคสนาม สำหรับรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ รถภาคสนาม รถแทรกเตอร์ที่ใช้งานในสนามกอล์ฟ

BKT TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อบีเคที


LG 306 ยางสำหรับสนามหญ้าและสวน เหมาะสมสำหรับรถตัดหญ้าแบบนั่ง และบางขนาดยังเหมาะสำหรับใช้กับรถขนส่งในสนามบิน รถลากเครื่องบิน และรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ด้วยดอกยางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ทำให้ยางมีความอ่อนโยนต่อการใช้งานบนพื้นหญ้า ไม่สร้างความเสียหายให้กับพื้นหญ้า และในขณะเดียวกันยังคงความเข้มแข็ง ทนทาน ต่อการใช้งานอีกด้วย


TR 387 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์และรถพ่วง มีความสามารถในการลอยอยู่ในน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยเฉพาะ อีกทั้งยังป้องกันการตัด บาดตำจากของมีคม และทนทานต่ออุปสรรคระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี ยางรุ่นนี้ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถแทรกเตอร์ รถพ่วง รถบดถนน


TR 390 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์และรถพ่วง สามารถลอยอยู่ในน้ำ คุณสมบัติที่โดดเด่นและให้ความทนทานเพิ่มขึ้น ด้วยวัสดุชนิดพิเศษแบบ HD (heavy duty) เหมาะสำหรับใช้งานหนักโดยเฉพาะ


TR 391 ยางอุตสาหกรรมเกษตร เหมาะสำหรับรถแทรกเตอร์ รถพ่วง และรถบด สามารถลอยอยู่ในน้ำ และดอกยางออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของดินและหญ้าระหว่างการใช้งาน


TR 461 ยางภาคสนามขนาดใหญ่ สำหรับรถแทรกเตอร์ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับงานสมบุกสมบัน เช่น ขุดมันสำปะหลัง ให้การป้องกันที่แก้มยาง ทนทานต่อการใช้งานแม้ในพื้นผิวแข็งและขรุขระ

CARLISLE TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อคาร์ไลส์





TURF PRO R-3 การออกแบบดอกยางให้สามารถลอยอยู่ในน้ำ เหมาะสำหรับสนามหญ้าและใช้งานทั่วไป โดยไม่ก่อความเสียหายให้กับดินและหญ้าขณะใช้งาน


ULTRA TRAC เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะพื้นที่ มีความสามารถในการลอยตัวสูง หน้ายางกว้าง แบนเรียบ และออกแบบให้ลดช่องว่างระหว่างดอกยาง คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี ในขณะที่ยังคงรักษาสภาพสนามหญ้าไม่ให้เกิดความเสียหาย ส่วนใหญ่มักใช้ในสนามกอล์ฟ และพื้นที่ที่เป็นสนามหญ้า

BRIDGESTONE TURF TIRE ยางรถภาคสนามยี่ห้อบริดจ์สโตน


FD ยางรถภาคสนาม ยางรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ และรถแทรกเตอร์ภาคสนาม ออกแบบดอกยางให้มีลักษณะเป็นข้าวหลามตัด ช่วยให้มีความสามารถในการยึดเกาะและเคลื่อนที่บนพื้นผิวหญ้าได้ดี โดยที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับพื้นหญ้าขณะใช้งาน ดอกยางหนาและใหญ่เพิ่มความคงทน แข็งแรง ป้องกันการบาดตำจากของมีคมได้ดี โครงสร้างยางแข็งแรงพิเศษเหมาะสำหรับงานสมบุกสมบัน อีกทั้งยังให้อายุการใช้งานยาวนาน


PD1 ยางรถภาคสนาม ยางรถตัดหญ้าแบบนั่งขับ และรถแทรกเตอร์ภาคสนาม ออกแบบดอกให้มีความละเอียด ปกป้องพื้นผิวที่ใช้งานได้เป็นอย่างดี และยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับรถกอล์ฟ รถตัดหญ้าแบบนั่ง รถแทรกเตอร์ที่ใช้งานในสนามกอล์ฟ

ขนาดยางรถภาคสนาม
11.2-24 11.2/10-24 11x4.00-4 11x4.00-5 11x7.00-4 12.5/80-18 13.6-16 13.6-28 13x5.00-6 13x6.00-6 13x6.50-6 140-6 15x6.00-6 16.5x6.50-8 16.9-24 16.9-28 16X6.50-8 16x7.50-8 18x6.50-8 18x7.00-8 18x7.50-8 18x8.50-8 18x9.50-8 19.5L-24 190-8 205/50-10 20x10.00-10 20x10.00-8 20x8.00-8 215/60-8 21L-24 22x11.00-8 23x10.50-12 23x8.50-12 23x9.50-12 24x12.00-12 24x8.50-14 26x12.00-12 27x12.00-15 27x8.50-15 29x14.00-15 355/80D20 4.00-4 4.10/3.50-4 4.10/3.50-5 4.10/3.50-6 4.80/4.00-8 41x14.00-20 5.30/4.50-6 

โครงสร้างยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ยางผ้าใบแบบใช้ยางใน (Tube-type Tire)


ยางรถยนต์และยางรถประเภทอื่นๆ สามารถจำแนกตามโครงสร้างของยาง ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ยางเรเดียล

2. ยางผ้าใบ

โดยยางทั้ง 2 ประเภทนี้ มีทั้งแบบที่ใช้ยางใน+ยางรองคอ และแบบที่ไม่ใช้ยางใน แต่ยังมีผู้ใช้จำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า ยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน(Tubeless Tire) เป็นยางเรเดียล ซึ่งที่จริงแล้วยางเรเดียลกับยางผ้าใบต่างกันที่ชั้นวัสดุที่ออกแบบไว้สำหรับเสริมความแข็งแรงของตัวยาง โดยที่ยางเรเดียลจะใช้วัสดุเป็นเส้นใยลวดวางตลอดแนวหน้ายาง ส่วนยางผ้าใบจะใช้ผ้าใบเฉียงวางซ้อนกันตลอดแนวหน้ายาง 

จุดสังเกตง่ายๆ สำหรับการดูว่ายางที่เราใช้นั้น เป็นยางผ้าใบ หรือยางเรเดียล คือ ยางเรเดียลขนาดยางที่แก้มยางจะแสดงว่า 10.00R20 ซึ่งตัว R คือสัญลักษณ์แสดงถึง ยางเส้นนั้นเป็นยาง Radial 

 

ส่วนยางผ้าใบขนาดยางที่แก้มยางจะแสดงว่า 10.00-20 โดยใช้ - (ขีดกลาง)เป็นสัญลักษณ์แทนยางผ้าใบนั่นเอง


โดยที่ยางผ้าใบขนาดเดียวกัน อาจมีชั้นผ้าใบแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับยางที่ผลิตเพื่อใช้งานในลักษณะประเภทไหน เช่น ยางผ้าใบรถบรรทุกทั่วไปขนาด 10.00-20 16PR จะประกอบด้วยชั้นผ้าใบเฉียงวางซ้อนกันจำนวน 16 ชั้น ซึ่งเป็นจำนวนชั้นผ้าใบมาตรฐานสำหรับยางขนาดนี้ แต่ก็ยังมียางผ้าใบรถบรรทุก 10.00-20 18PR ซึ่งมีชั้นผ้าใบมากกว่ายางทั่วไปเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั้น และยางผ้าใบ 18PR มักจะเป็นยางดอกบั้งหรือดอกออฟโรด ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สำหรับใช้งานในเหมืองแร่ และใช้งานที่ต้องการรับน้ำหนักภาระงานที่มากกว่ายางทั่วไป ดอกยางแบบบั้งและแบบออฟโรดเพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องพบเจออุปสรรคสิ่งกีดขวาง ของมีคมต่างๆ มากกว่ายางผ้าใบทั่วไปนั่นเอง



รูปเปรียบเทียบโครงสร้างยางผ้าใบแต่ละชนิด

Tubeless (ทูปเลส หรือที่เรียกกันติดปากว่า "จุ๊บเลส") คือ ยางแบบไม่ใช้ยางใน ใช้แต่เพียงยางนอกอย่างเดียว โดยยางจะมีเนื้อยางหนาและโครงสร้างยางแข็งแรงขึ้น ขอบยางหนากว่ายางแบบใช้ยางใน เพื่อใช้อัดให้แน่นกับขอบกระทะล้อในการเก็บลม และเมื่อถูกวัตถุแหลมทิ่มตำ แล้วรูรั่วมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื้อของยางจะพยายามบีบรูนั้นไว้ ทำให้ลมยางค่อยๆซึมออกช้าๆ หรือหากว่าวัตถุแหลมคมนั้นยังปักติดกับหน้ายาง อาจสามารถใช้งานได้ไปอีกหลายวันกว่าที่ยางจะแบน

ยาง Tubeless ถูกออกแบบมาเพื่อลบจุดด้อยของยางในอดีต เพราะยางในอดีตนั้นเป็นยางแบบมียางใน หากถูกตะปูหรือวัตถุแหลมคมแทงทะลุยางชั้นนอกเข้าไปถึงยางชั้นใน ลมก็จะรั่วออกทันทีอย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่วินาทียางก็แบนสนิท หรืออาจถึงขั้นยางระเบิดทำให้รถเสียการทรงตัวและเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้


ข้อดีของยางผ้าใบแบบไม่ใช่ยางใน (Tubeless Tire)
1. เพราะไม่ต้องใช้ยางใน จึงตัดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายของยางใน ยางในรั่ว ยางในเสื่อมสภาพ
2. ขณะที่ยางถูกของมีคมทิ่มตำ ลมยางจะไม่รั่วออกฉับพลัน แต่จะค่อยๆซึมออกทีละนิดป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากความเสียหายจากยางได้
3. โอกาสที่ยางจะระเบิดนั้นมีน้อยกว่ายางแบบมียางใน เพราะยางแบบ Tubeless มีความร้อนสะสมน้อยกว่ายางแบบมียางใน เนื่องจากยางแบบใช้ยางใน เวลาวิ่งนั้นยางนอกและยางในจะเกิดการเสียดสีกัน
เองทำให้เกิดความร้อนสะสมสูง
4. ช่วยในการลดน้ำหนักยาง และช่วยให้การบำรุงรักษายางได้ง่ายขึ้น

ข้อสียของยางผ้าใบแบบไม่ใช่ยางใน (Tubeless Tire)
1. มีราคาสูงกว่ายางผ้าใบแบบใช้ยางใน
2. หากเกิดความเสียหายที่ทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ จะไม่สามารถปะยางแบบทั่วไปได้ จะได้ถอดยางเพื่อนำไปสตรีมยางด้วยความร้อน และขั้นตอนการปะยางนี้เอง หากดำเนินการแบบไม่ระมัดระวังแล้ว จะทำให้เกิดการตกค้างของสิ่งสกปรกต่างๆภายในตัวยาง และเมื่อนำยางกลับมาใช้งานหลังจากปะ สิ่งสกปรกเหล่านั้นอาจทำความเสียหายให้กับเนื้อยางด้านในได้



ข้อดีของยางแบบมียางใน  
1. ราคาค่อนข้างถูก
2. กรณียางโดนตะปูหรือของมีคมตำนั้น ค่าปะยางมีราคาถูก
3. สามารถอัดลม รองรับการบรรทุกหนักได้ดีกว่า เช่น รถสิบล้อ รถแทรคเตอร์
4. มีความยืดหยุ่น แก้มยางไม่ต้องออกแบบมาเป็นพิเศษ ใช้ในที่ทุรกันดารได้ดี

ข้อเสียของยางแบบมียางใน
1. เมื่อยางโดนตะปูหรือวัตถุมีคมแทงทะลุยางชั้นนอก เข้าไปถึงยางชั้นใน ลมก็จะรั่วออกอย่างรวดเร็ว
2. ต้องหมั่นเติมลมยางให้แข็งอยู่เสมอ เพราะถ้าลมอ่อน จะทำให้เวลารถวิ่งยางนอกจะไปเสียดสีกับยาง
ในทำให้ยางรั่วได้
3. เนื่องจากยางแบบใช้ยางใน เวลาวิ่งนั้น ยางนอกและยางในจะเกิดการเสียดสีกัน
เองทำให้เกิดความร้อนสูง ถ้ายางระเบิดขณะขับรถอยู่ อาจทำให้เกิดอันตรายได้

ข้อควรระวัง
1. การประกอบยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากขอบยางเสียหายจะทำให้เกิดการรั่วซึมที่ขอบยางได้
2. ต้องตรวจสภาพขอบกะทะล้อ และวาล์วเติมลมให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วซึมที่บริเวณดังกล่าว
3. เนื่องจากยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน เมื่อมีการรั่วซึม ลมยางจะค่อยๆอ่อนตัวลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ใช้งานอาจไม่ทราบว่ายางรั่ว ดังนั้นจึงควรตรวจวัดลมยางอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าลมยางลดลงหลังจากที่เติมลมยางภายในระยะเวลาสั้นๆ ควรนำยางไปตรวจเช็คเพื่อหารอยรั่วต่อไป

นอกจากยางรถบรรทุกแล้ว ยังมียางรถอีกหลายประเภทที่เป็นยางผ้าใบแบบไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) เช่น ยางรถตัก ยางรถเกรด ยางรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ยางรถการเกษตร ยางรถภาคสนาม ยางรถกอล์ฟ ยางรถเอทีวี ยางออฟโรด เป็นต้น

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก http://global.yokohamatire.net/index.html

รถคีบอ้อย และคุณสมบัติของยางรถคีบอ้อย



รถคีบอ้อยเป็นรถจักรอุตสาหกรรมเกษตร ที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย พบได้ตามไร่อ้อย ลานมัน และอุตสาหกรรมป่าไม้ ลักษณะของรถคีบอ้อยคือ จะมีส่วนของปากคีบขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้า ทำหน้าที่คีบสิ่งของที่ต้องการเช่น ลำอ้อย กิ่งไม้ ท่อนซุงต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทำให้ภาระงานจะอยู่ในส่วนด้านหน้าของรถคีบอ้อยมากเป็นพิเศษ ลักษณะของยางรถคีบอ้อยจึงมีลักษณะยางล้อหน้าขนาดใหญ่กว่ายางล้อหลัง



รถคีบอ้อย มีทั้งชนิด 3 ล้อ และ 4 ล้อขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถในแต่ละชนิด โดยลักษณะยางรถคีบอ้อยสำหรับใช้งานในไร่ จะมีลักษณะดอกยางเป็นลายก้างปลาทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ซึ่งจะช่วยในการทำงานในพื้นที่ที่มีอุปสรรค ต้องการแรงกุยและการยึดเกาะพื้นผิวเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องการความแข็งแรง ทนทาน และพร้อมใช้งานสมบุกสมบันกว่ารถคีบอ้อยที่ใช้งานบนลานอ้อยและโรงงานน้ำตาล ซึ่งรถคีบอ้อยแบบหลังลักษณะยางที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะมียางล้อหน้าเป็นแบบก้างปลาหรือแบบดอกเรียบก็ได้ แต่ล้อหลังจะเป็นยางดอกเรียบ หรือบางทีผู้ใช้งานก็สามารถนำยางตันโฟล์คลิฟท์มาประยุกค์ใช้งานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน และรับน้ำหนักได้มากเป็นพิเศษ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของยางแตก ยางระเบิด และความเสียหายของยางจากของมีคม และอุปสรรคจากการใช้งานต่างๆได้

รถคีบอ้อยชนิด 4 ล้อในบางผู้ผลิตรถ ได้นำเอายางรถบรรทุกที่มีลักษณะยางดอกบั้ง หรือยางหน้าลายเข้ามาใช้งานในส่วนนี้เพื่อประหยัดงบประมาณ และนอกจากรถคีบอ้อยแล้ว รถแทรกเตอร์ก็สามารถใช้งานในลักษณะรถคีบอ้อยได้เหมือนกัน โดยรถแทรกเตอร์บางรุ่นบางยี่ห้อ ได้มีการเพิ่มในส่วนของอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีลักษณะเป็นปากคีบเช่นเดียวกับรถคีบอ้อยไว้ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้


โครงสร้างของรถคีบอ้อย

รถคีบอ้อยสำหรับใช้งานในไร่อ้อย

รถคีบอ้อยแบบ 4 ล้อ

รถคีบอ้อยที่ใช้ล้อหลังเป็นยางก้างปลา

รถคีบอ้อยที่ใช้ในโรงงาน

ยางรถคีบอ้อย
ยางรถคีบอ้อยแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆด้วยกันคือ
1. ยางดอกก้างปลา (ใช้ได้ทั้งล้อหน้า และล้อหลัง)
2. ยางดอกเรียบ (ใช้สำหรับล้อหลัง)


ยางรถคีบอ้อยดอกก้างปลา จะมีลักษณะเหมือนยางรถไถ และยางรถแทรกเตอร์ คือมีลักษณะเป็นบั้งวางสลับกันคล้ายก้างของปลา มีดอกยางที่หนาและใหญ่แต่ไม่ลึกมาก มีความกว้างของหน้ายางค่อนข้างมากลักษณะยางอ้วนๆ แตกต่างจากยางรถไถทั่วไป แต่จะเหมือนกับยางรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรในต่างประเทศ ซึ่งบ้านเรายังมีรถแทรกเตอร์ประเภทนี้ค่อนข้างน้อย ด้วยลักษณะยางดังกล่าวจึงสามารถรับน้ำหนักภาระงานซึ่งมีน้ำหนักด้านหน้าค่อนข้างมาก และให้ความทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระได้ดี ให้แรงกุยและการยึดเกาะบนพื้นผิวขรุขระได้ดี และยังสามารถใช้ได้บนพื้นผิวเรียบได้อีกด้วย

ยางรถคีบอ้อยดอกเรียบ มีลักษณะเหมือนยางรถพ่วงการเกษตร และยางล้อหน้ารถไถต่างๆ ยางล้อหลังของรถคีบอ้อยชนิด 3 ล้อ จะมีหน้าที่ในการบังคับเลี้ยว ดังนั้นรถคีบอ้อยจึงมีลักษณะดอกยางเป็นร่อง 3-4 ร่อง ขอบด้านข้างของหน้ายางมีลักษณะเป็นบั้ง หรือไม่เป็นบั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของยางแต่ละยี่ห้อ เพื่อให้สามารถบังคับเลี้ยวได้สะดวก

ยางดอกเรียบ 3 ร่องขอบบั้ง
ยางดอกตัว L (ดอกรถเกรด)
ยางชนิดพิเศษ ลายดอกบั้ง

ยางตันโฟล์คลิฟท์ ที่นำมาประยุกค์ใช้งานกับล้อหลังของรถคีบอ้อย

ยางรถบรรทุกดอกบั้ง ที่มีการนำมาใช้งานในรถคีบอ้อย 4 ล้อ

ขนาดยางรถคีบอ้อยที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายได้แก่
380/55-17 , 400/60-15.5 , 560/60-22.5 , 600/55-22.5 , 700/45-22.5 , 710/40-22.5 , 11.5/80-15.3 , 12.5/80-15.3 , 11L-15 , 11L-16 ฯลฯ

facebook fanpage

latest tweets