ประวัติ และประเภทของรถเอทีวี

ประวัติ และประเภทของรถเอทีวี

เอทีวี (ATV ย่อจาก All-Terrain Vehicle) หรือ ควอดไบค์ (quad-bike หรือย่อว่า ควอด) เป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ในการขับเคลื่อนโดยออกแบบมาให้มีขนาดเล็กและมีล้อทั้งหมด 4 ล้อ สำหรับใช้ขับขี่ในทางวิบาก อย่างไรก็ตามทางแอนซี ได้นิยามว่า "เอทีวี" คือชื่อสำหรับยานยนต์ที่มีลักษณะสำหรับการขับขี่ที่มีแรงกดดันต่ำที่ยาง และที่นั่งก็เป็นลักษะที่ต้องถ่างขาหรือขึ้นคร่อมเวลาใช้งานโดยผู้ขับขี่ และมือทั้งสองข้างก็บังคับโดยจับที่แฮนด์ควบคุมขับขี่โดยมีคนบังคับคนเดียว และได้มีการประยุกต์ให้มีที่นั่งซ้อนท้ายเพิ่มในยุคต่อมา

รถเอทีวีคันแรกนั้นคาดว่ามีการสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งในตอนนั้นรถมี 6 ล้อ แทนที่จะเป็นสี่ล้อ ฮอนด้าได้ผลิตรถเอทีวีชนิด 3 ล้อขึ้นมาในปี 1970 และที่ให้เป็นที่รู้จักและติดตามากขึ้นในภาพยนตร์เรื่องเพชรพยัคฆราช หลังจากนั้นก็ถูกขนานนามในชื่อ US90 ต่อมา ATC90 ก็ได้รับการแต่งเติมสำหรับการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งต่อมาการใช้ยางทรงรีเส้นใหญ่ก็ถูกนำมาแทนที่รูปแบบเดิมโดยภายหลังในช่วงปลายๆปี 1980 การหยุดผลิตยางแบบเดิมซึ่งมีคุณภาพต่ำก็ถูกนำมาใช้อีกในปี 1982 ฮอนด้า รุ่น ATC200E Big Red ได้ผลิตออกมาให้สามารถใช้งานในเมืองได้ โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือชั้นวางและ ระบบการเบรก ทำให้กลายเป็นรถ ATV ขนาด 3 ล้อตัวแรกที่สามารถใช้งานได้เอนกประสงค์และขับขี่ไปได้ทุกที่ ซึ่งรถในยุคนั้นไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ จึงทำให้รถเอทีวีกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักล่า สัตว์ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา หลังจากรถเอทีวีได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากแล้ว บริษัทผู้ผลิตยางรถเอทีวี จึงได้มีการพัฒนายางรถเอทีวีให้มีสมรรถภาพรองรับการขับขี่ให้ดียิ่งขึ้น ผู้ผลิตรถเอทีวีจากค่ายต่างๆจึงพัฒนาตัวรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนสามารถนำรถเอทีวีเข้าสู่การแข่งขันในปัจจุบัน

ประเภทของ ATV แบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน ได้ดังนี้

1. ATV สำหรับขี่เล่น เป็น ATV ที่เหมาะกับการขี่เล่น หรือเด็กๆ ผู้ที่เริ่มต้นขี่ ซึ่งรถ ATV ประเภทนี้ จะมีเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ความจุประมาณ 80 – 125 ซี.ซี. เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ส่วนใหญ่เป็นแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยอากาศ แรงม้าไม่มาก (ไม่ถึง 10 แรงม้า) ระบบกันสะเทือนง่ายๆ ด้านหน้าเป็นแบบคานแข็ง คอยล์สปริงธรรมดา หรือรุ่นที่ดีหน่อยก็อาจจะเป็นแบบอิสระ A-ARM แต่มีเพียงแขนยึดด้านล่างเพียงแขนเดียว ซึ่งต่างกับระบบกันสะเทือนแบบอิสระปีกนกสองชั้นทั่วไป ส่วนด้านหลังเป็นแบบมาตรฐานของรถ ATV ทั่วไป คือ เป็นแบบสวิงอาร์ม คานแข็ง ระบบขับเคลื่อนเป็นโซ่ (ระบบเพลาก็มี) และยึดด้วยช็อคอัพ 1 ตัว รถ ATV ประเภทนี้เน้นความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยไม่ต้องวุ่นวายในการเปลี่ยนเกียร์ให้ยุ่งยาก ซึ่งเหมาะสำหรับเด็ก และผู้เริ่มต้น

2. ATV สำรหรับใช้แรงงาน เป็นรถ ATV ที่เน้นการใช้งานแบบสมบุกสมบัน เหมาะกับการใช้งานในไร่ หรือฟาร์ม สามารถนำไปบรรทุกของหนักได้ โดยมักจะมีตระแกรงบรรทุกไว้ให้ และยังสามารถนำไปลุยป่าฝ่าโคลนแบบรถยนต์ 4WD ได้อีกด้วย สาเหตุที่รถ ATV ประเภทนี้ สามารถลุยและบรรทุกของหนักๆ ได้นั้นมาจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ สูบเดี่ยว ความจุกระบอกสูบสูง (ขนาด 250 ซี.ซี. ขึ้นไป) เน้นแรงบิดสูงในรอบต่ำ ไม่เน้นความเร็วรอบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์แบบอัตโนมัติ หรือ อาจจะเป็นเกียร์แบบรถครอบครัวบ้านเรา คือ อาศัยระบบคลัทช์แรงเหวี่ยง ทำให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องพะวงกับการบีบคลัทช์ ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา (Full time 4WD) และที่พิเศษของรถ ATV ประเภทนี้ คือ จะมีเกียร์พิเศษช่วยเพิ่มแรงบิด หรือเกียร์สโลว์ แบบรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อนั่นเอง ซึ่งเกียร์สโลว์นี้ จะมีอัตราทดที่สูงกว่าปกติ ช่วยเพิ่มแรงบิดที่ส่งถ่ายมายังล้อได้มาก ช่วยเพิ่มเรี่ยวแรงเวลาปีนป่ายฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ แต่ความเร็วของรถก็จะลดลงไปด้วย

3. ATV สำหรับแข่งขัน ATV ประเภทนี้ จะค่อนข้างเน้นความเร็ว ซึ่งจะมีตั้งแต่เร็วระดับใช้งานปกติได้ จนถึงระดับแข่งขัน ความเร็วดังกล่าวมากจากเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ ความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 200 ซี.ซี. ขึ้นไป ระบายความร้อนด้วยอากาศ (ในรุ่นที่ราคาถูก) จนไปถึงระบายความร้อนด้วยน้ำ (รุ่นที่ราคาแพง ๆ หรือตัวแข่งทั้งหลาย) ระบบคลัทช์และเกียร์ก็จะเป็นแบบธรรมดา หรือแบบคลัทช์มือ มีเกียร์ให้เล่นหลายเกียร์ อัตราเร่งฉับไว เอทีวีสำหรับแข่งขันจะนิยมใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อหลัง ระบบกันสะเทือนด้านหน้าเป็นปีกนก 2 ชั้น คอยล์สปริง แต่บางค่าย เช่น POLARIS ATV สัญชาติอเมริกัน จะใช้กันสะเทือนด้านหน้าแบบ แมคเฟอร์สัน สตรัท (ดูได้จากช่วงล่างของรถเก๋งขนาดเล็ก เช่น honda city หรือ toyota soluna เป็นต้น) ส่วนกันสะเทือนหลังมักจะเป็นแบบสวิงอาร์ม คานแข็ง ใช้ช็อคอัพเดี่ยว แต่ประสิทธิภาพสูง ใช้โซ่ขับเคลื่อนเพื่อกินแรงเครื่องยนต์ให้น้อยที่สุด ระบบเบรคเป็นดิสก์เบรคทั้งหน้าและหลัง

ลิ้งค์ขนาดยางรถเอทีวี
145/70-6 16x6.50-8 16x7-7 16x8-7 16x8.00-7 18x11-8 18x7-7 18x9.50-8 19x7-8 19x8-7 20x10-8 20x11-10 20x11-9 20x7-8 20x7.00-8 20x8-8 21x10-10 21x10-8 21x12-10 21x12-8 21x12-9 21x7-10 21x8-9 22x10-10 22x11-10 22x11-8 22x11.00-10 22x11.00-8 22x11.00-9 22x12.5-10 22x12.5-8 22x12.5-9 22x7.00-10 22x8-10 23x10.00-10 23x7-10 23x8-11 24x10-11 24x11.00-10 24x8-11 24x9-11 25x10-12 25x10.00-12 25x12.00-10 25x12.00-9 25x13.5-9 25x8-12 25x9-12 26x12-10 26x12-12 26x8-12 26x9-12 27x12-12 27x9-12 145/70R6 19x8.00R7

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.honda-motorcycles.org , http://www.fourstrokesonly.com 
ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด

ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด


รถโฟล์คลิฟท์ (FORKLIFT)

รถโฟล์คลิฟท์ เป็นรถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสิ่งของ รถโฟล์คลิฟท์ได้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2463 ในปัจจุบันรถโฟล์คลิฟท์ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า รถโฟล์คลิฟท์ เรียกทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า FORKLIFT เป็นการผสมคำสองคำ คือ FORK ที่แปลว่า ส้อม ซึ่งด้านหน้าของรถจะมีแท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถที่เรียกว่า "งา" เพื่อใช้สำหรับยกและวางสิ่งของเพื่อทำการเคลื่อนย้าย และ LIFT ที่แปลว่า การยกหรือเคลื่อนย้ายขึ้นและลงในแนวตั้ง รถโฟล์คลิฟท์ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ทุ่นแรงยกและการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่างๆ

รถโฟล์คลิฟท์แบ่งประเภทจากต้นกำลังขับเคลื่อนออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ENGINE FORKLIFT

รถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถโฟล์คลิฟท์ประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้อีก 3 ประเภท คือ
  1.1 DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล)
  1.2 GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเบนซิล)
  1.3 L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊ส L.P.G.)
นอกจากนั้นรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภทคือ
  - ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)
  - ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE)

2. BATTERY FORKLIFT

รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อน โดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ
- แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
- แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)

ซึ่งในรถโฟล์คลิฟท์แต่ละชนิด แต่ละประเภท จะมีขนาดและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รถโฟล์คลิฟท์สามารถเคลื่อนที่ด้วยล้อยาง 4 ล้อ โดยยางที่ใช้กับรถประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ยางรถโฟล์คลิฟท์ชนิดเติมลม
2. ยางตันรถโฟล์คลิฟท์
รถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาดจึงมีการใช้งานยางที่มีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน สภาพพื้นที่การทำงาน และความต้องการในการรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการยก ในกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหาย หรือหมดอายุการใช้งานของยางรถโฟล์คลิฟท์ การเปลี่ยนยางหรือกะทะล้อจะต้องมีขนาดที่ถูกต้อง ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่า ขนาดกะทะล้อที่จะใช้ร่วมกับยางรถโฟล์คลิฟท์มีขนาดเท่าไหร่ สามารถดูข้อมูลได้จากตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบกะทะล้อที่สามารถใช้ได้กับยางรถโฟล์คลิฟท์ในแต่ละขนาด

Tire Size ขนาดยาง
Rim Size ขนาดกะทะล้อ
3.50-5
3.00-5
4.00-8
3.00-8
5.00-8
3.00-8
6.00-9
4.00-9
6.50-10
5.00-10
4.50-12
3.00-12
7.00 -12
5.00-12
2.50-15
7.00-15
5.50-15
4.50-15
7.00-15
5.50-15
7.50-15
6.00-15
7.50-16
6.00-16
8.25-15
6.50-15
3.00-15
8.00-15
9.00-20
7.00-20
10.00-20
7.50-20
16 x 6-8
4.33-8
18 x 7-8
4.33-8
21 x -8-9
6.00-9
23 x 9-10
6.50-10
28 x 8-15
7.00-15
28 x 9-15 (8.15-15)
7.00-15
15 x 41/2-8
3.00-8
140/55-9
4.00-9
200/50-10
6.50-10

ขนาดยางรถโฟล์คลิฟท์

15x41/2-8 16x6-8 18x7-8 21x8-9 23x10-12 23x9-10 250-15 27x10-12 28x9-15 300-15 4.50-12 5.00-12 5.00-8 5.50-15 5.70-12 6.00-15 6.00-9 6.50-10 6.50-16 6.90/6.00-9 7.00-12 7.00-15 7.00-16 7.00-9 7.50-10 7.50-15 7.50-16 8.15-15 8.25-12 8.25-15 8.25-16 9.00-16

ขนาดยางรถอุตสาหกรรม

10.00-20 12.00-20 12.00-24 14.00-24 16.00-24 16.00-25 17.5-25 18.00-25 18.00-33 12.00R20 21.00-25 12.00R24 14.00R24 23.5R25 16.00R25 18.00R25 26.5-25 18.00R33 8.25-20 9.00-20  

บทความเกี่ยวกับยางรถยนต์ , ยางรถโฟล์คลิฟท์ , ยางรถอุตสาหกรรม 

จำหน่ายยางรถยนต์ และยางรถบรรทุก
เทคนิคการขับรถออฟโรดในการลุยโคลนอย่างถูกต้อง

เทคนิคการขับรถออฟโรดในการลุยโคลนอย่างถูกต้อง

การขับลุยโคลนอย่างถูกต้อง

โคลนเป็นอุปสรรคที่สามารถพบได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการเดินทางในช่วงฤดูฝนของเหล่านักขับสิงห์ออฟโรด ก่อนเราจะเริ่มขับลุยโคลนไม่ว่ากรณีใดๆ จะเป็นแอ่งโคลนที่มีตื้นหรือลึก ควรมีการเดินสำรวจพื้นที่โดยรอบให้แน่ใจก่อน เพื่อหาจุดเหมาะสมในการขับข้าม เพราะสภาพของดินโคลนในธรรมชาติแต่ละจุดไม่เหมือนกัน อีกทั้งต้องพิจารณาต่อไปถึงเส้นทางข้างหน้าว่าเป็นอย่างไรมีความวิบากมากน้อยแค่ไหน การเลือกใช้ประเภทของเกียร์สำหรับรถออฟโรด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ การเลือกใช้เกียร์และความเร็วให้เหมาะสม ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเส้นทางราบตรงและมีแอ่งโคลนไม่ลึกมากขวางอยู่ ควรจะใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อในตำแหน่งเกียร์ 4H หรือ PART-TME HIGH ก็เพียงพอแล้ว การเลือกใช้เกียร์ระดับนี้จะมีการกระจายกำลังที่เพียงพอ และควรเลือกใช้ความเร็วที่เหมาะสมในการขับผ่าน ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป ที่สำคัญควรรักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ บางครั้งหากใช้ความเร็วมากเกินไป ประกอบกับพื้นดินที่อยู่ด้านล่างนุ่มมาก อาจทำให้รถเกิดการติดหล่มได้ อีกทั้งขณะขับผ่านแอ่งโคลน ควรใช้เทคนิคการหักพวงมาลัยซ้าย-ขวา สลับกันไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้หน้ายางตะกายผ่านพื้นผิวของโคลนได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ความเร็วในการแล่นผ่านทางที่เป็นโคลน ต้องแน่ใจว่าไม่มีหินก้อนใหญ่ ๆ ฝังอยู่บริเวณด้านล่างของโคลนที่เราจะขับข้ามผ่าน เพราะถ้าหากมีหินขนาดใหญ่อยู่ด้านล่างที่เรามองไม่เห็น ยางอาจดีดก้อนหินขึ้นมาจนทำให้เกิดความเสียหายกับยางหรือตัวรถยนต์ได้


หากแอ่งโคลนข้างหน้ามีขนาดลึก ควรเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ในตำแหน่งเกียร์ 4L หรือ PART-TIME LOW เพื่อเพิ่มกำลังในการฉุดลากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเส้นทางด้านหน้าเป็นทางขึ้นเนินชันรออยู่ คงไม่ดีแน่หากต้องหยุดรถเพื่อเปลี่ยนเกียร์ เพราะอาจจะทำให้การไต่เนินชันทำได้ยากขึ้น และอาจจะต้องลงไปตั้งหลักที่ด้านล่างใหม่อีกครั้ง ดังนั้นก่อนที่จะขับผ่านอุปสรรคใดก็ตาม ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงเส้นทางข้างหน้าว่ามีความยากง่ายมากน้อยแค่ไหน จะทำอย่างไรเมื่อติดหล่มโคลน หากประเมินแล้วไม่สามารถขับผ่านแอ่งโคลนนั้นไปได้ ก็ไม่ควรฝืนเหยียบคันเร่งหนักๆเพื่อพยายามให้ขับผ่านแอ่งโคลนนั้น เพราะจะทำให้สถานการณ์กลับย่ำแย่ลงไปอีก โดยยางจะจมลงไปในโคลนมากขึ้น หากเป็นรถยนต์ออฟโรดแบบเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรกและขึ้นเบรกมือไว้ จากนั้นผลักดันคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จึงสตาร์ทเครื่องอีกครั้งโดยที่เท้ายังเหยียบเบรกอยู่ ต่อจากนั้นเข้าเกียร์ต่ำหรือเกียร์ถอยหลังปลดเบรกมือและค่อยปล่อยเท้าจากการเหยียบเบรกมากดคันเร่งอย่างค่อยๆ จนตัวรถยนต์เริ่มมีการขยับตัวพอให้เคลื่อนที่ได้ หากเป็นเกียร์ธรรมดาอาจจะใช้วิธีเข้าเกียร์แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์ จะทำให้ตัวรถยนต์ กระตุกและเคลื่อนตัวจนถึงหลุดจากหล่มโคลนนั้นได้ ถ้าหากทดลองแล้วทุกวิธีแต่ยังติดหล่มอยู่ที่เดิมและสถานการณ์ย่ำแย่จริงๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องลากหรือวินซ์ในการฉุดลากขึ้นจากแอ่งโคลนนั้นๆ



ยางสำหรับรถออฟโรด


ยางออฟโรด มีลักษณะแตกต่างจากยางรถกระบะหรือยางรถเอสยูวีทั่วไปมาก ลักษณะดอกยางเป็นก้อนๆ ที่เรียกกันว่ายางดอก Mud-Terrain ดอกยางขนาดใหญ่วางเรียงกัน โดยมีร่องดอกยางค่อนข้างกว้างและลึก เพื่อช่วยเพิ่มแรงกรุยดินโคลนได้ดี แนวยางยาวและลึกตลอดหน้ายางช่วยในการสะบัดหินและโคลนได้ดี ยางประเภทนี้เหมาะกับการใช้วิ่งบนเส้นทางออฟโรด เป็นดินโคลน หรือดินทรายได้ดี ใช้ความเร็วในการวิ่งไม่มากนัก ด้วยลักษณะดอกยางขนาดใหญ่ ร่องยางกว้างและลึก ทำให้หน้าสัมผัสยางสัมผัสกับพื้นผิวน้อยกว่ายางทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานบนท้องถนนด้วยความเร็วสูง หากนำไปใช้ในความเร็วสูง อาจทำให้เกิดการสะบัด ลื่นไถลขณะโค้ง และเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายต่อรถและผู้ใช้งานได้ หากนำมาใช้งานบนถนนควรใช้ความเร็วต่ำ และควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังอย่างมาก


นอกจากนี้ยังมียางออฟโรด สำหรับใช้งานบนท้องถนนได้ด้วย ที่เรียกกันว่ายางดอก All-Terrain ซึ่งยางชนิดนี้มีลักษณะดอกยางเล็กกว่าแบบ Mud-Terrain และมีร่องดอกยางที่เล็กและถี่ ซึ่งให้หน้าสัมผัสกับพื้นผิวมากกว่า แต่ยังคงความสามารถในการกรุยหิน ดิน โคลนได้ดี แต่น้อยกว่ายางออฟโรดแบบแรก ยางแบบ All-Terrain เป็นที่นิยมใช้งานแพร่หลาย ในกลุ่มผู้ใช้รถกระบะยกสูง ให้ความสวยงามแก่รถที่ใส่ การใช้งานหลากหลาย ขับขี่ได้ทั้งพื้นที่ป่าเขา มีดินโคลน และสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดี


ขนาดของยางออฟโรด
245/65R15, 30x9.5R15, 31x10.5R15, 33x12.5R15, 245/75R16, 265/75R16, 285/75R16, 31x12.5R16, 265/70R17, 37x12.5R17, 36x12.5R16.5, 36x12.5R16.5, 37x12.5R16.5, 33x10.5-16, 36x12.5-16 , 31x10.5R15, 30X9.50 R15, 235/75 R15, 35x12.5R20


ลิ้งค์สำหรับขนาดยางรถออฟโรด 33x12.5R15 31x10.5R15 30x9.50R15 285/75R16 265/75R16 245/75R16 267/70R17 35x12.5R20 33x10.5-16 36x12.5-16

ขอบคุณรูปภาพประกอบสวยๆจาก upload.wikimedia.org , www.zycietoprzygoda.pl ,  www.bestfreejpg.com , www.caradvice.com.au


จำหน่ายทุกยี่ห้อ อาธิเช่น ยาง AUFINE , ADVANCE , DEESTONE , DURO , BKT , BRIDGESTONE , ARMOUR , SHUNGIN , VEE RUBBER , DOUBLE COIN , OASIS , SAMSON , OTANI , HANKOOK , AEOLOUS , CONTINENTAL , MICHELIN , EXCEL , NAGANO , SIAMES , AMS และอื่นๆอีกมากมาย

ชมสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tiretruckintertrade.com/

บทความต่างๆเกี่ยวกับยางรถยนต์และบทความน่ารู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์

FANPAGE : https://www.facebook.com/tiretruckcenterintertrade

EMAIL : SALE@TIRETRUCKINTERTRADE.COM

TEL. : 053-510068 , 083-0938048 , 094-7201988   FAX : 053-510068

BelAZ 75710 รถบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

BelAZ 75710 รถบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

BelAZ 75710 ก้าวขึ้นมาเป็นรถที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีชัยเหนือแชมป์เก่าอย่าง Liebherr T 284 ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในกลุ่มของรถบรรทุก ด้วยขีดความสามารถในการรับน้ำหนักโหลดได้ถึง 450 ตัน จึงทำให้ BelAZ 75710 กลายเป็นรถบรรทุกสำหรับอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยที่ Liebherr T 284 ทำได้ที่ 400 ตัน

รถบรรทุกการทำเหมืองแร่นี้ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคมปี 2013 แต่การผลิตจะเริ่มในปี 2015 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ BelAZ 75710 ยังไม่ได้รับการบันทึกสถิติโลกให้เป็นรถที่ใหญ่ที่สุดจากกินเนสส์บุ๊คอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม บริษัท ที่มีการผลิตรถบรรทุกมีความมั่นใจว่าจะก้าวขึ้นมาครองอันดับรถที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างแน่นอน

รูป Liebherr T 284 อดีตรถที่ใหญ่ที่สุดในโลก





รถบรรทุกการทำเหมืองแร่ BelAZ 75710 เปิดตัวโดย บริษัท เบลารุส Belaz ในตุลาคม 2013 ภายใต้การสั่งซื้อโดยบริษัทเหมืองแร่ในรัสเซีย และกำลังมีการทดสอบใช้งานในเหมืองไซบีเรียก่อนที่จะถูกผลิตและส่งให้ปฏิบัติงานในเหมืองแร่ขนาดใหญ่ทั่วโลกต่อไป ขนาดของเจ้ารถคันที่ใหญ่ที่สุดในโลกคันนี้อยู่ที่ ความยาว 206 เมตร สูง 81.6 เมตร และกว้าง 98.7 เมตร น้ำหนักรถเปล่าอยู่ที่ 360 ตัน Belaz 75710 ประกอบด้วยล้อขนาดใหญ่ทั้งหมด 8 ล้อ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 16 สูบ กำลัง 2,300HP สามารถทำความเร็วได้ถึง 64km/h ยางรถที่ใช้มีขนาด 59/80R63

ความรู้เรื่องยาง ขนาด 59/80R63

ยางรถขนาดใหญ่ประเภท Giant OTR ซึ่งขนาดใหญ่มหาศาลและราคาแสนแพงนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกมหาศาล คือ ยาง 6 เส้นต้องรับน้ำหนักบรรทุกถึง 1.375 ล้านปอนด์(600 ตัน) ยาง 1 เส้นหนักถึง 5.3 ตัน มีสูงเกือบ 4 เมตร(13 ฟุต) ผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่าง Michelin และ Bridgestone ยังคงถือครอบการผลิตยางพิเศษนี้ แต่ก็ได้มีผู้ผลิตรายใหม่ที่เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมยางเหมืองแร่ อย่างกลุ่มบริษัท Titan เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาและผลิตยาง Giant OTR

ลิ้งค์สำหรับยางรถเหมือง Giant OTR Tire

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.skyscrapercity.com , http://hybridtechcar.com , mining-technology.com

facebook fanpage

latest tweets